แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

ในเดือนพฤษภาคม 1948 ได้มีการจัดการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยขึ้นครั้งแรกในเกาหลีใต้ ภายใต้การควบคุมขององค์การสหประชาชาติเพื่อเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจํานวน
198 คน และในวันที่ 17 เดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลีซึงมานและลีซียอง นักสู้เพื่อเอกราชที่ชาวเกาหลีต่างให้ความเคารพยิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีคนแรกของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1948 ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยสืบทอดนิติธรรมแห่งจักรวรรดิเกาหลี องค์การสหประชาชาติถือว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลีเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียวในคาบสมุทรเกาหลี


การเลือกตั้งทางตอนเหนือของเส้นขนานที่ 38 ภายใต้การควบคุมขององค์การสหประชาชาติไม่สามารถกระทําได้ เนื่องจากการต่อต้านของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน เกาหลีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1945 ในฐานะประเทศคอมมิวนิสต์ โดยคิม อิล-ซ็องผู้เคยเป็นนายทหารในกองทัพโซเวียตเข้าพิธีสาบานตนรับตําแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีนําโดยประธานาธิบดีลีซึงมันได้เผชิญหน้ากับสารพันปัญหาที่ถาโถมเข้ามา เช่น การจัดระเบียบประเทศ การถอนรากถอนโคนการปกครองแบบอาณานิคมที่หลงเหลืออยู่ และความขัดแย้งระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา เป็นต้น อันเป็นช่วงเวลาวิกฤตที่ประเทศแบ่งฝ่ายการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยทางตอนใต้และเผด็จการคอมมิวนิสต์ทางตอนเหนือ


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองทัพเกาหลีเหนือพร้อมด้วยรถถังโซเวียตนํากําลังทหารเข้าบุกโจมตีเกาหลีใต้เป็นการเปิดสงครามอย่างเต็มตัว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ประณามการกระทําของเกาหลีเหนือและประกาศแนวทางแก้ไขเสนอให้กับประเทศสมาชิกเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่เกาหลีใต้ เนื่องจากการแทรกแซงของกองกําลังของสหประชาชาติทําให้เกาหลีเหนือตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นรอง กองทัพจีนแดงจึงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ ทั้งสองฝ่ายต่างต่อสู้ห้ำหั่นกันอย่างไม่ลดละ จนกระทั่งวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 จึงได้ลงนามข้อตกลงสงบศึกเกาหลี (Korean Armistice Agreement) แต่ประธานาธิบดีลีซึงมันไม่ยอมลงนามในข้อตกลงนี้ เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐเกาหลีควรทําสงครามต่อไปเพื่อรวมชาติ ให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่งจะนําประโยชน์ให้กับเกาหลีใต้


highway_700.jpg

ทางด่วนคยองบู ทางด่วนเส้นแรกของประเทศเชื่อมระหว่างกรุงโซลกับเมืองปูซานเปิดให้บริการเมื่อปี 1970



สงครามภายในประเทศที่ยาวนานถึงสามปีนี้ได้ทําลายล้างคาบสมุทรเกาหลีจนย่อยยับ ทหารและประชาชนล้มตายเป็นจํานวนนับล้านคน โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ถูกทําลายเสียหายย่อยยับ เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แต่กระนั้นสงครามนี้ได้สอนชาวเกาหลีให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของอิสรภาพ ประสบการณ์นี้ก่อให้เกิดความรักชาติขึ้นในหัวใจของเด็กนักเรียน และความสามัคคีในหมู่ทหารกล้า และกลายเป็นแรงผลักดันอันสําคัญต่อกระบวนการสร้างความทันสมัยของประเทศ


ประธานาธิบดีลีซึงมันได้รวบรวมอํานาจไว้อย่างเด็ดขาด ในปี 1960 พรรคเสรีนิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้โกงการเลือกตั้งประธานาธิบดี นักเรียนนักศึกษาต่างพากันออกมาเดินขบวน ประท้วง สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อผู้ชุมนุมหลายคนถูกตํารวจยิงทําร้าย ประธานาธิบดีลีซึงมันประกาศลงจากตําแหน่งและลี้ภัยไปยังฮาวาย หลังจากนั้นไม่นานก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและนําการปกครองระบบรัฐสภาและสมัชชาแห่งชาติแบบสองสภามาใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายกรัฐมนตรีจังเมียนก้าวขึ้นเป็นผู้นํา แต่สถานการณ์ทางการเมืองเปราะบางเป็นอย่างมาก ท่ามกลาง ปัญหาทางการเมืองที่รายล้อมและการเดินขบวนประท้วงของกลุ่มนักศึกษาซึ่งยังคงออกมาเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ในเดือนพฤษภาคม 1961 ปัก ชอง-ฮีนํากําลังทหารก่อรัฐประหารยึดอํานาจ หลังจากปกครองภายใต้ระบอบทหารอยู่สองปีก็ได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นในเดือนตุลาคม 1963 ปัก ชอง- ฮีซึ่งเวลานั้นได้เกษียณอายุจากราชการทหารแล้วได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีและเข้ารับตําแหน่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน


รัฐบาลของประธานาธิบดีปัก ชอง-ฮีจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ภายใต้แนวคิด นําพาแผ่นดินปิตุภูมิก้าวล้ำนําสมัย” (modernization of the fatherland) และเน้นนโยบายการส่งออก ทําให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านักสังเกตการณ์พากันเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน” เกาหลีได้พยายามอย่างหนักในการพัฒนาพื้นที่ภายในประเทศ มีโครงการพัฒนาเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งการก่อสร้างทางด่วนคยองบูและเส้นทางรถไฟใต้ดินในเมืองใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวของชุมชนใหม่หรือแซมาอึล อุนดงเกิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมการเกษตรที่ยากจนให้กลายเป็นประเทศที่เน้นอุตสาหกรรมเป็นหลัก


หลังจากที่รัฐบาลประกาศแผนปฏิรูปฟื้นฟูประเทศหรือยูซิน เมื่อเดือนตุลาคม 1972 โดยขยายวาระการดํารงตําแหน่งหลังจากปกครองประเทศแบบเผด็จการมากกว่า 18 ปี เหล่านักศึกษาและ ประชาชนต่างรวมพลังออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่ประธานาธิบดีปักถูกลอบสังหารในเดือนตุลาคม 1979 เจ้าหน้าที่ทหารกลุ่มใหม่นําโดยนายพลชอนดูฮวัน (ซินกุนบู) ก็ทํา รัฐประหารเข้ายึดอํานาจ กําลังพลซินกุนบูนําโดยชอนดูฮวันใช้อํานาจทางการทหารปิดกั้นเสียงเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในวันที่ 18 พฤษภาคม ชอนดูฮวันได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีและปกครองประเทศแบบอํานาจนิยม รัฐบาลของชอนดู ฮวันเน้นการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสามารถควบคุมราคาสินค้าที่ขึ้นเฟ้อได้สําเร็จ นําพา เศรษฐกิจของประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง


ในเดือนมิถุนายน 1987 โนแทอู ผู้ชิงตําแหน่งประธานาธิบดีของพรรคฝ่ายรัฐบาลได้ประกาศว่าเขาจะยอมรับข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้ประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีโดยมีวาระ 5 ปี และเข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีในเดือนกุมภาพันธ์ 1988 รัฐบาลของโรห์ แท-วูได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคอมมิวนิสต์ ได้แก่ สหภาพโซเวียต จีน และประเทศในยุโรปตะวันออก และในยุครัฐบาลนี้เองที่เกาหลีทั้งสองได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกันในเดือนกันยายน 1991


คิม ยอง-ซัมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1993 รัฐบาลคิม ยอง-ซัมพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะขจัดการทุจริต โดยออกกฎให้ข้าราชการชั้นสูงลงทะเบียนทรัพย์สินและห้ามไม่ให้ใช้ชื่อปลอมในการทําธุรกรรมทางการเงินทุกรูปแบบ มาตรการนี้ช่วยให้การทําธุรกรรมมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังนําระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมาใช้อย่างเต็มที่ คิมแดจุงได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1998 รัฐบาลคิมแดจุงประสบความสําเร็จในการฝ่าวิกฤตเงินตราต่างประเทศที่ซัดกระหน่ำประเทศเมื่อหนึ่งปีก่อน เขาพยายามอย่างหนักที่จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาด ในด้านความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ รัฐบาลได้นํา นโยบายตะวันฉาย” (sunshine policy) มาใช้ ในเดือนมิถุนายน 2000 ผู้นําของเกาหลี ทั้งสองได้มาพบกันที่งานประชุมผู้นําสุดยอดซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเปียงยางในเกาหลีเหนือและประกาศแถลงการณ์ร่วม จากนั้นเกาหลีทั้งสองประเทศก็สร้างระบบความปรองดองและความร่วมมือกันขึ้นทั้งยังยินยอมให้สมาชิกในครอบครัวที่พลัดพรากจากกันได้กลับมาพบกันอีกครั้ง เชื่อมต่อสายรถไฟคยองอึยและทงแฮ ปลุกการเคลื่อนไหวเพื่อความปรองดองโดยมีภาคเอกชนเป็นแกนนําและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ภูเขาคึมกังซาน


รัฐบาลโรห์ มูเฮียนเข้ารับตําแหน่งในปี 2003 มุ่งเน้นการทํางาน 3 ประการ คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงระบอบประชาธิปไตย การพัฒนาสังคมแบบสมดุลและการสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมุ่งเน้นที่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเป็นหลัก นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดการประชุมผู้นําสุดยอดครั้งที่สองระหว่างผู้นําเกาหลีขึ้นที่กรุงเปียงยางเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2007 และลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา


รัฐบาลลีมยองบักเข้ารับตําแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ประกาศใช้ห้าตัวบ่งชี้นํา เพื่อสร้างระบบการพัฒนาขึ้นใหม่โดย เน้นที่การเปลี่ยนแปลงและความสะดวกในการนําไปใช้เป็นหลัก รัฐบาลเน้นย้ำอย่างหนักแน่นว่าจะทํางานเพื่อรับใช้ประชาชน นอกจากนี้ยังพยายามลดหน่วยงานรัฐบาลแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (รวมทั้งทําให้องค์กรบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น) และปฏิรูประเบียบการบริหารนโยบาย มีการใช้นโยบายอื่นๆ โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในแนวทางที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในศตวรรษที่ 21 และการนําพาเกาหลีให้เป็นสากลภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจเหนือ-ใต้


ด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนธันวาคม 2555 รัฐบาลปักกึนเฮได้นำเสนอวิสัยทัศน์แบบใหม่คือ การพัฒนาประเทศและความสุขของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลของเธอยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งขับเคลื่อนโดยการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และไอซีที อีกด้วย



ยุน ซอก-ยอล ประธานาธิบดีคนที่ 20 ของสาธารณรัฐเกาหลี 
ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอลได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ในเดือนพฤษภาคม 2022 



รัฐบาลมุน แจอินเข้ารับตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม ปี 2017 นำเสนอวิสัยทัศน์เชิงนโยบายสี่ประเด็นต่อไปนี้: การบรรลุจุดจบของการปฏิวัติใต้แสงเทียนและความเป็นชาติของประชาชน การเติบโตร่วมกัน คาบสมุทรเกาหลีที่สงบสุขและปลอดภัย และสังคมเกาหลีที่ยั่งยืนและมีชีวิตชีวา ส่วนหนึ่งของความพยายามนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อขจัดวัฒนธรรมเผด็จการ ต้องการสื่อสารกับประชาชน และฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังเพิ่มอาชีพ ลดการทำงานที่ไม่ปกติ และเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ภายใต้การพยายามที่จะตระหนักถึง "เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นประชาชน"


นอกจากนี้การบริหารของรัฐบาลมุน แจอินได้ปูทางในการบรรเทาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี และเปิดยุคแห่งสันติภาพด้วยการจัดประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี เช่นเดียวกับการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีใต้ – สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ – จีน อีกทั้งการเผชิญกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยรัฐบาลยังได้ให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต โดยได้นำเสนอ 4 วิสัยทัศน์หลัก รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีเป้าหมาย