เกี่ยวกับประเทศเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • เกี่ยวกับประเทศเกาหลี
  • กีฬา
  • การยกระดับในฐานะเจ้าภาพการแข่งขันระดับนานาชาติ


หลังจากเป็นอิสรภาพจากอาณานิคมญี่ปุ่น กีฬาในเกาหลีประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 21 ณ เมืองมอนทรีออล ในปี 1976 และการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 23 ณ เมืองลอสแองเจลีส ในปี 1984 สาธารณรัฐเกาหลีติด 10 อันดับแรก และยังคงรักษาตำแหน่งมหาอำนาจด้านกีฬาไว้ได้ เกาหลีได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาที่สำคัญทั้ง 5 รายการของโลก ได้แก่ โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว การแข่งขันฟุตบอลโลก การแข่งขันกรีฑาโลก และการแข่งขันว่ายน้ำโลก รวมถึงเอเชียนเกมส์และกีฬามหาวิทยาลัย


โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล ในปี 1988


ในปี 1988 โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 จัดขึ้นที่กรุงโซล นักกีฬา 13,304 คน จาก 160 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยปรัชญาพื้นฐานของ 'ความสามัคคีและความก้าวหน้า' งานนี้จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายคือ การมีนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุด ความกลมกลืนของของโลก มีประสิทธิภาพที่สุด ปลอดภัยที่สุด และประหยัดที่สุด


เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ และเป็นประเทศที่ 16 ในโลก ที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ 23 รายการ และกีฬาสาธิต 2 รายการ สาธารณรัฐเกาหลีได้ 12 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน และ 11 เหรียญทองแดง จบในอันดับที่ 4 ของการแข่งขัน


การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล มีคุณค่าอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งความปรองดองระหว่างค่ายตะวันออกและตะวันตกของโลกที่ได้เข้าร่วม นับว่ามีความหมายมากเนื่องจากว่าฝ่ายตะวันตกได้คว่ำบาตรไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 22 ณ กรุงมอสโก ในปี 1980 และฝ่ายตะวันออกก็ได้คว่ำบาตรไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 23 ในเมืองลอสแองเจลิส ในปี 1984 ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพียงครึ่งเดียว


ตามเจตนารมณ์ของกฎบัตรโอลิมปิก การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล ได้รับการประเมินว่าสามารถเอาชนะความขัดแย้งทางอุดมการณ์และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์สถานะการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึง วัฒนธรรม ประเพณี และศักยภาพของเกาหลีสู่ประชาคมโลก


ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 เกาหลี-ญี่ปุ่น ในปี  2002


ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 เกาหลี-ญี่ปุ่น จัดขึ้นที่สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นเวลา 31 วัน ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2002 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ทั้ง 2 ประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน


นอกจากนี้ยังเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกทวีปยุโรปและอเมริกา ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 เกาหลี-ญี่ปุ่น เต็มไปด้วยผลการแข่งขันที่น่าประหลาดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาธารณรัฐเกาหลีที่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับคนทั้งโลกจากการประสบความสำเร็จ ด้วยการเขียนตำนานผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศที่ไม่มีใครคาดคิด การเชียร์อย่างกระตือรือร้นของแฟนฟุตบอลที่ใส่เสื้อยืดสีแดง ที่เรียกว่าปีศาจแดง และยังนับว่าเป็นโอกาสในการแนะนำอีกด้านของเกาหลีให้โลกได้เห็น ทำให้มีการรวมตัวกันเชียร์กลางถนนทั่วประเทศ เสียงเชียร์อย่างกระตือรือร้นของชาวเกาหลีจำนวนมากกลางดึกทำให้โลกสั่นสะเทือน ในขณะที่เกมฟุตบอลระหว่างทีมเกาหลีใต้และเยอรมนีเพื่อชิงอันดับ 4 นั้น มีคนจำนวน 6.5 ล้านคนส่งเสียงเชียร์ทีมชาติของพวกเขาทั่วประเทศ



ตราสัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล

ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล ได้แสดงถึงลวดลายของซัมแทกึก ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมของชาวเกาหลี ซัมแทกึก ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวเกาหลีหลายยุค หลายสมัย เป็นลวดลายที่ใช้กับทางเข้าบ้านฮันอกและงานฝีมือ และเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของการส่งเสริมสันติภาพในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก



ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 เกาหลี-ญี่ปุ่น ในปี 2002 ประชาชนจำนวนมากร่วมเชียร์กันที่จัตุรัสหน้าศาลากลางกรุงโซล มีชาวต่างชาติจำนวนมากที่ประทับใจกับความกระตือรือร้น และความเป็นหนึ่งเดียวของแฟนบอล แม้กระทั่งตอนนี้ ปีศาจแดงยังคงเชียร์ทีมชาติของพวกเขาในทุกเกมการแข่งขันรายการสำคัญ



การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2011


การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่เมืองแทกู เมืองใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน 2011 สนามกีฬาแทกู ตั้งอยู่ในเมืองแทกู ซึ่งเป็นเมืองนานาชาติที่ประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบรรจบกัน ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อว่าโค้งสีน้ำเงิน เป็นสนามกีฬาที่ประสบความสำเร็จในการจัดงานกีฬาระดับนานาชาติที่สำคัญ เช่น ฟุตบอลโลกครั้งที่ 17 เกาหลี-ญี่ปุ่น ในปี 2002 และกีฬามหาวิทยาลัยฤดูร้อน ในปี 2003 เกาหลีได้แสดงสีสันที่สดใสน่าประทับใจของการแข่งขันกรีฑาทั้งชนิดลู่ และลาน ต่อแฟนกรีฑาทั่วโลกผ่านการใช้สกอร์บอร์ดไฟฟ้าร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2011 ณ เมืองแทกู ประเทศเกาหลี



การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฤดูร้อน ในปี 2015


เป็นการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในเมืองกวางจู ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ถึง 14 กรกฎาคม 2015 นับว่าเป็นการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 3 ที่สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดขึ้น หลังจากการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฤดูหนาว ณ เมืองมูจู ในปี 1997 และกีฬามหาวิทยาลัยฤดูร้อน ณ เมืองแทกู ในปี 2003 ซึ่งกีฬามหาวิทยาลัยในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วม 17,036 คนจาก 143 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 21 ชนิดกีฬา



โอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018


โอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 25 กุมภาพันธ์ 2018 สร้างสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์กีฬาฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาเข้าร่วม 2,920 คน จาก 92 ประเทศ ซึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในบรรดาการแข่งขันกีฬาฤดูหนาวนานาชาติ ในบรรดาประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน มี 6 ประเทศที่ได้เข้าร่วมกีฬาฤดูหนาวเป็นครั้งแรก ได้แก่ ไนจีเรีย เอริเทรีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เอกวาดอร์ และโคโซโว ซึ่งเป็นการขยายฐานกีฬาฤดูหนาวให้มีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้วยคุณภาพน้ำแข็งที่ยอดเยี่ยม ทำให้มีการทำลายสถิติโลก 3 รายการ และสร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถึง 25 รายการด้วยกัน ซึ่งทำรายได้ทะลุบ็อกซ์ออฟฟิศจากการประสบความสำเร็จในการขายตั๋วได้ถึง 1.08 ล้านใบ


การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018 ยังเต็มไปด้วยการเริ่มต้นสิ่งใหม่มากมาย รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยี 5G ครั้งแรกของโลก การใช้ภาพจำลองเสมือนจริง การสตรีมมิ่งวิดีโอความเร็วสูง และการขับขี่อัตโนมัติที่ได้กลายเป็นประเด็นร้อน ซีเอ็นเอ็นรายงานว่าโอลิมปิก พยองชางเกมส์ เป็นโอลิมปิกที่ไฮเทคที่สุดในประวัติศาสตร์ ต้องขอบคุณเทคโนโลยี 5G


เหนือสิ่งอื่นใด โอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ ฝังลึกในจิตใจของผู้คนทั่วโลกว่าเป็นโอลิมปิกสันติภาพและความปรองดองของโลก ที่รวบรวมคุณค่าและจิตวิญญาณของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกาหลีเหนือได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด ด้วยจำนวนนักกีฬา 22 คน ทีมเชียร์หญิง 229 คน และเจ้าหน้าที่ระดับสูง 27 คน อีกทั้งนักกีฬาเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือได้เดินขบวนภายใต้ธงรวมเกาหลีในพิธีเปิดการแข่งขัน และทีมฮ็อกกี้น้ำแข็งหญิงได้เข้าร่วมเป็นทีมรวมโดยใช้ชื่อทีมว่า เกาหลี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิก


โอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ ยังแสดงตัวอย่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเชิงวัฒนธรรมด้วยการดำเนินงานมากกว่า 1,800 รายการ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมที่ผสมผสานฮันรยู หรือกระแสเกาหลีเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม


สาธารณรัฐเกาหลีจบอันดับที่ 7 ในโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ และประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมด้วย 5 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง นอกจากกีฬาน้ำแข็งแล้ว เกาหลียังได้รับเหรียญรางวัลจากกีฬาชนิดต่างๆ เช่น สเกเลตัน บอบสเล และเคอร์ลิง ซึ่งเป็นการขยายฐานกีฬาฤดูหนาวของเกาหลี อีกทั้งเกาหลียังได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันสกีนั่งครอสคันทรี ในพาราลิมปิกเกมส์ และจบในอันดับ 16 ของตารางอีกด้วย



ทีมฮ็อกกี้น้ำแข็งหญิงรวมเกาหลี

ทีมฮ็อกกี้น้ำแข็งหญิงรวมเกาหลี ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018




นักกีฬาเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีเปิดร่วมกัน ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018



นักกีฬาสาธารณรัฐเกาหลีที่ชนะเหรียญรางวัลในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018


ชเว มิน-จอง (Short track speed skating)

การเอาชนะความเจ็บปวดจากการตกรอบ 500 ม. เธอคว้า 2 เหรียญทองในการแข่งขันระยะ 1,500 ม. และ 3,000 ม.


ยุน ซอง-บิน (สเกเลตัน)

ยุน ซอง-บิน กลายเป็นราชาคนใหม่ของกีฬาสเกเลตัน ในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พยองชางเกมส์ 2018 โดยเขาได้รับรางวัลเหรียญทอง สร้างสถิติใหม่ชนะขาดมากที่สุดในการแข่งขันสเกเลตันโอลิมปิก และชนะขาดมากที่สุดในการแข่งขันกีฬาประเภทเลื่อนนับตั้งแต่ปี 1972 


ทีมกีฬาเคอร์ลิงหญิง

ผู้เล่นทั้ง 5 คน ได้แก่ คิม อึน-จอง คิม คยอง-แอ คิม ซอน-ยอง คิม ยอง-มี และคิม โช-ฮี ที่เล่นแต่ละเกมอย่างเต็มกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก และเรียกว่า ทีมคิม ทีมเคอร์ลิงของเกาหลีที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วยการเอาชนะทีมเต็ง และได้รับเหรียญเงินหลังจากพ่ายแพ้ให้กับสวีเดน