แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

ตั้งแต่สมัยโบราณกาลคนเกาหลีเชื่อว่าการกินและการบำบัดรักษาร่างกายนั้นมีพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความหมายของ  “อึยชิกดงวอน” คือการกินเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงเป็นแนวคิดที่มาจากการกินเพื่อบำรุงและรักษาโรคจากนั้นจึงใช้ยารักษาวัฒนธรรมการหมักดอง ลักษณะที่สำคัญที่สุดของการทำอาหารเกาหลีคือการบ่มและการหมักดองเพื่อให้เก็บได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ อาหารหมักดองขึ้นชื่อของเกาหลี ได้แก่ เทวนจัง (เต้าเจี้ยว), คันจัง (ซอสถั่วเหลือง), โคชูจัง  (ซอสพริก) และ ชอทกัล (น้ำปลาหมัก) ซึ่งชอทกัลนั้นมีระยะเวลาการหมักแตกต่างกันไปตั้งแต่หลายเดือนไปจนถึงหลายปี ระดับของการหมักดองเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างรสชาติ และกลิ่นของอาหารทั้งที่ปรุงที่บ้านและตามร้านอาหาร


เทวนจังและคันจัง

ทำมาจากวัตถุดิบที่เรียกว่า ‘เมจู’ ซึ่งเมจูมีวิธีการทำ ลำดับแรก คือ แช่ถั่วเหลืองในน้ำและต้มจนกว่าจะสุก หลังจากนั้นนำไปโขลกและปั้นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วทิ้งไว้ให้แห้งเพื่อให้เกิดเชื้อหมัก จากนั้นนำไปใส่ในไหขนาดใหญ่ที่มีน้ำเกลือบรรจุอยู่ โดยวางพริกแห้งและถ่านร้อนด้านบน ซึ่งจะช่วยกำจัดสิ่งเจือปน และกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมักทิ้งไว้ประมาณสองถึงสามเดือนจนกว่าถั่วจะหมักได้ที่ จากนั้นแยกส่วนเนื้อ (เทวนจัง)  และส่วนน้ำ (คันจัง) ออกจากกัน โดยจะต้องหมักส่วนเนื้อต่อ(เทวน จัง) อีกอย่างน้อยห้าเดือน และส่วนน้ำ (คันจัง) อีกอย่างน้อยสามเดือน เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่เข้มข้น เช่นเดียวกับไวน์ ซอสถั่วเหลืองจะมีกลิ่นและรสเข้มขึ้นหากหมักเป็นเวลานาน 



โคชูจัง (ซอสพริก)

โคชูจังคือการผสมนกมัล (แป้งญวน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวบาร์เลย์  แป้งสาลี มอลต์) ซึ่งเป็นการทำเมจูสำหรับโคชูจังชนิดหนึ่งนำมาผสมเกลือและผงพริก จากนั้นนำใส่ในไหและหมักจนได้ที่ โคชูจังจึงเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวเกาหลีที่ชื่นชอบอาหารรสเผ็ดและมีรสชาติดี นับตั้งแต่พริกได้เข้ามาในวัฒนธรรมการกินของชาติเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ปัจจุบันพริกและโคชูจังเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอุปนิสัยของคนเกาหลีที่มีชีวิตชีวาและกระตือรือร้น

Doenjang Jjigae (Soybean Paste Stew). This stew-like Korean dish is made by boiling an assortment of ingredients such as meat, clams, vegetables, mushrooms, chili, tofu, and soy paste.

เทวนจังจิแก (ซุปเต้าเจี้ยว) เป็นการนำเทวนจัง (เต้าเจี้ยว) ลงไปละลายในน้ำซุปต้มเดือดและเพิ่มวัตถุดิบต่างๆ ลงไป เช่น 
เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก เห็ด พริก เต้าหู้ และเต้าเจี้ยว เป็นต้น ผสมเข้าด้วยกันและต้มจนเดือด ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารที่
เป็นตัวแทนของเกาหลี



장독대. 간장, 된장, 고추장, 젓갈 등 음식의 기본 재료가 담긴 질그릇을 보관하는 곳이다. 질그릇은 통기성이 좋아 발효 식품 보존에 뛰어나다. 장독대는 햇볕이 들면서도 바람이 잘 통하는 장소에 두는 것이 일반적이다.

ชังดกแด (พื้นที่เก็บไหดิน) พื้นที่นอกครัวใช้เก็บไหดินเคลือบสีน้ำตาลขนาดใหญ่ต่างๆ ที่บรรจุคันจัง (ซอสถั่วเหลือง) เทวนจัง (เต้าเจี้ยว)  โคชูจัง (ซอสพริก) และชอทกัล (อาหารทะเลหมักเกลือ) ที่เป็นวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารเอาไว้



แซอูจอท (กุ้งดองเค็ม) นอกจากน้ำปลาแอนโชวี่ แล้วน้ำปลากุ้งก็เป็นน้ำปลาอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในเกาหลี 
ใช้กุ้งดองเกลือเป็นส่วนประกอบในการหมัก ซึ่งมักจะใช้ควบคู่ไปกับปลาแอนโชวี่ ใช้ในอาหารเกาหลีต่างๆ  
โดยเฉพาะเวลาทำกิมจิ ซึ่งจะช่วยให้มีกลิ่นหอมและรสชาติที่เข้มข้น



ชอทกัล (อาหารทะเลหมักเกลือ)

ชอทกัล (อาหารทะเลหมักเกลือ) คือส่วนประกอบสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้ในการทำกิมจิและนิยมใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารทำโดยผสมอาหารทะเล เช่น ปลาแอนโชวี่ กุ้ง หอยนางรม หรือ หอยกาบ กับเกลือหรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ แล้วหมักเก็บไว้ในที่เย็น กล่าวกันว่ายิ่งหมักนานรสชาติยิ่งอร่อย มีการคิดค้นสร้างสรรค์อาหารที่ทำจากชอทกัลหลายอย่าง เช่น ซิกแฮ ที่ทำโดยคลุกเคล้าปลาหมักกับข้าวและเครื่องปรุงต่างๆ ซึ่งมีรสชาติดีและได้รับความนิยมสูง


กิมจิ

ปัจจุบันกิมจิเริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะอาหารประจำชาติเกาหลี  กิมจิได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารที่มีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งยังมีให้เลือกรับประทานได้ มากมายหลากหลายชนิด กิมจิที่หารับประทานได้โดยทั่วไปเป็น กิมจิที่ทำจากผักกาดขาวหมักกับเกลือ ผสมกับเครื่องปรุงกิมจิที่ทำจากพริกป่น กระเทียม หัวหอม ขิง หัวไชเท้าเกาหลี น้ำปลา และส่วนผสมอื่นๆ เช่น อาหารทะเลตามแต่ละภูมิภาคต่างๆ ปกติแล้วกิมจิจะรับประทานกันหลังจากที่หมักไปแล้วไม่กี่วัน ซึ่งแม้จะมีการรับประทานกิมจิที่เพิ่งหมักสดๆ แต่บางคนชอบทานมูกึนจี (กิมจิสุก) ที่ใช้เวลาหมักมากกว่า 1 หรือ 2 ปีด้วยเช่นกัน

180929_life_food_making baechu kimchi.jpg


การทำแพชูคิมจิ (กิมจิผักกาดขาว)

1.เตรียมส่วนผสมสำหรับทำกิมจิ

2.หั่น ล้างผักกาดขาวและแช่ในน้ำเกลือ ล้างผักกาดขาวที่แช่น้ำเกลือในน้ำเย็นแล้วเทน้ำทิ้ง

3.ผสมเครื่องปรุงกับน้ำปลาหมักและปลาเค็ม

4.ละเลงเครื่องกิมจิลงบนผักกาดขาวให้ทั่วทุกใบ

5.ห่อผักกาดขาวทั้งหัวและเก็บไว้ในที่เย็น

 


ส่วนผสมของกิมจิแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ขนบธรรมเนียม และผลิตผลขึ้นชื่อที่หาได้ในท้องถิ่นนั้น เช่น กรุงโซลขึ้นชื่อเรื่อง คุงจุงกิมจิ (กิมจิชาววัง), โพซัมกิมจิ (กิมจิห่อ), ชงกักกิมจิ (กิมจิไชเท้าทั้งหัว) และกักดูกี (กิมจิไชเท้าหั่นเต๋า) เป็นต้น ส่วนกิมจิที่มีชื่อเสียงในจอลลาโด ได้แก่ โคดึลแปกีกิมจิ (กิมจิเดซี่เกาหลี) และกัตกิมจิ (กิมจิใบมัสตาร์ด)


ในปี 2001 คณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius  Commission) ได้ตัดสินให้กิมจิเป็นอาหารมาตรฐานสากลแทนคิมูจิญี่ปุ่น และในปี 2012 ได้มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการในส่วนของผักกาดที่ผลิตในเกาหลี เรียกว่า “ผักกาดขาวกิมจิ” (kimchi cabbage) ที่เคยเรียกว่าผักกาดจีนมาก่อน ส่วนในปี 2003 ในระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค SARS (โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง) ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก สื่อต่างประเทศได้รายงานว่าไม่พบการระบาดของโรค SARS ในเกาหลีเนื่องจากการรับประทานกิมจิทำให้สรรพคุณของกิมจิเป็นที่สนใจไปทั่วโลก ซึ่งในปี 2006 นิตยสาร Health Magazine ที่เป็นนิตยสารเกี่ยวกับสุขภาพของสหรัฐอเมริกาได้จัดให้กิมจิเป็น1 ในอาหาร 5 อย่าที่ดีต่อสุขภาพที่สุดของโลก

Bibimbap. Cooked rice served with fresh and seasoned vegetables, minced beef and chili paste.

        บิบิมบับ ข้าวสวยเสิร์ฟพร้อมผักสดปรุงรส เนื้อสับ และซอสพริกเกาหลี



บิบิมบับ

บิบิมบับ (ข้าวยำ) เป็นเมนูข้าว เสิร์ฟหลังจากที่นำส่วนผสมต่างๆ เช่น ผักสดและผักตามฤดูกาล ไข่ เนื้อวัวบด และเครื่องปรุงอื่นๆ มาคลุกเคล้ากับข้าวสวยสุกจนเข้ากันดี มักจะเสิร์ฟเมนูนี้ในหม้อหินร้อน อาหารจานนี้มีความเกี่ยวพันกับเมืองชอนจูเป็นอย่างมาก องค์การยูเนสโกประกาศให้ชอนจูเป็น “เมืองแห่งความสร้างสรรค์ด้านอาหาร” (City of Gastronomy) ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีการจัดงานเทศกาลขึ้นที่เมืองแห่งนี้ทุกปีในฤดูใบไม้ร่วง และเทศกาลบิบิมบับก็เป็นหนึ่งในงานเทศกาลอาหารที่ดึงดูดเหล่านักชิม จากทั่วสารทิศทั้งในเกาหลีและต่างประเทศกันอย่างคึกคัก บิบิมบับเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันการเกิดโรคสำหรับผู้ใหญ่และกำลังจะกลายเป็นอาหารยอดนิยมไปทั่วโลกซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน อาหาร 3 อย่างที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของประเทศเกาหลีร่วมกับกิมจิและพุลโกกี 

บิบิมบับเป็นเมนูยอดนิยมที่มีให้บริการบนเครื่องบินและมีการพัฒนาวิธีการรับประทานให้ทานง่ายมากขึ้น



พุลโกกี เนื้อหั่นที่หมักด้วยซอสถั่วเหลืองแล้วนำไปย่าง



พุลโกกี

พุลโกกีคือเนื้อวัวที่หมักกับคันจัง (ซอสถั่วเหลือง) น้ำตาล น้ำสาลี่ และอื่นๆ ผสมกับเครื่องปรุงและนำมาย่างบนตะแกรงเสิร์ฟพร้อมกับผักต่างๆ ทั้งยังมีเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด เช่น โซพุลโกกี(เนื้อวัวย่าง) ดแวจีพุลโกกี(เนื้อหมูย่าง) และอื่นๆ อีกมากมาย เมนูนี้เป็นหนึ่งในเมนูเนื้อไม่กี่อย่างของเกาหลีเพราะโดยปกติคนเกาหลีมักจะคุ้นเคยกับการกินอาหารจานผักมากกว่า และยังมีรสชาติถูกปากจนเป็นที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติ ปัจจุบันนี้พุลโกกีได้ถูกนำมาใส่ในแฮมเบอร์เกอร์และพิซซ่าซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบใหม่


ต๊อก (เค้กข้าว)

แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวเจ้าที่นำมานวดผสมกับถั่วแดงหรือถั่วต่างๆ จากนั้นนำไปนึ่งจนสุกและนำมารับประทานเป็นอาหารที่เรียกว่าต๊อก แม้ว่าในปกติจะนำข้าวมาหุงเป็นข้าวสวยรับประทานแต่ในบางกรณีก็มีการนำมาทำเป็นต๊อกรับประทาน ต๊อกจัดเป็นอาหารพิเศษที่มักรับประทานในโอกาสสำคัญของครอบครัวหรือชุมชน เช่น งานเลี้ยงวันเกิด งานฉลองพิธีทำบุญรำลึก และวันหยุดตามประเพณีต่างๆ ซึ่งต๊อกเป็นอาหารที่จะขาดไปไม่ได้แต่บางครั้งก็รับประทานกันในมื้ออาหารทั่วไปเช่นกัน

 

ข้าวเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุดิบต่างๆ ผสมลงไปในแป้งข้าวเจ้า เช่น จิงจูฉ่าย (โกฐจุฬาลัมพา) ถั่วแดง  พุทรา ถั่วเหลือง เกาลัด ฯลฯ คนเกาหลีในอดีตโยงความหมายเชิงสัญลักษณ์รูปแบบต่างๆ เข้ากับต๊อก และมีวิธีการทำ และรับประทาน แตกต่างกันไปตามความหมายเหล่านั้น เช่น ทำแพคซอลกี (เค้ก ข้าวขาวนึ่ง) ในวันเกิดปีแรกของทารกเพื่ออวยพรให้มีอายุยืน (ซึ่งปัจจุบันยังมีการทำต๊อกแบบนี้อยู่) ทำพัลชีรูต๊อก (เค้กข้าวผสมถั่วแดง) เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ เนื่องจากเชื่อกันว่าสีแดงสามารถไล่ความเป็นอัปมงคลออกได้พวกเขาจะฉลองวันปีใหม่ด้วยต๊อกกุก (ซุปเค้กข้าว) ซึ่งทำจากน้ำซุปผสมกับฮวินกาแรต๊อก (เค้กข้าวสีขาวขนาดยาว) หั่นบางๆ ส่วนวันชูซอก (วันที่ 15 ของเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ) จะฉลองด้วยซงพยอน เค้กข้าวรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ขนาดพอดีคำ แล้วยัดไส้ด้วย น้ำผึ้ง เกาลัด ถั่ว หรืองาต่างๆ ลงไป มีร้านขายต๊อกชื่อดังหลายแห่งในย่านนักวอลดง ใจกลางกรุงโซล

Gyeongdan. Gyeongdan is a type of small rice cake made by kneading glutinous rice powder with hot water, shaping the dough into balls, boiling them in hot water, and coating them with a powder such as bean or sesame seed powder. These days, sponge cake crumbs are also used to coat gyeongdan.

คยองดัน

คยองดันเป็นเค้กข้าวขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ทำขึ้นจากการนวดแป้งข้าวเหนียวด้วยน้ำร้อน ปั้นแป้งให้เป็นก้อน ต้มในน้ำร้อน และเคลือบด้วยผง เช่น ถั่วหรือผงงา



ชุก (โจ๊ก)

ชุกเป็นโจ๊กสไตล์เกาหลี เป็นอาหารเหลวชนิดหนึ่งที่นำธัญพืชต่างๆ มาต้มในน้ำให้เดือดเป็นเวลานาน แต่เดิมชุกนั้นเป็นอาหารที่ช่วยรักษา มักทำให้กับเด็กที่อาหารไม่ย่อยหรือคนชรา เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีร้านขายชุกผุดขึ้นตามที่ต่างๆ มากมาย ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำมีหลายอย่าง มีการพัฒนาชุกที่ทำจากธัญพืชและผักให้มีความหลากหลายมากขึ้นจนนำไปเสิร์ฟในร้านอาหารหรู ซึ่งมีบริษัทหลายแห่งเกิดขึ้นที่ผลิตชุกเป็นรูปแบบกึ่งสำเร็จรูปออกจำหน่ายมากมาย


กุกซู (ก๋วยเตี๋ยว) และแนงมยอน (บะหมี่เย็น)

ก๋วยเตี๋ยวมีการพัฒนาไปอย่างมากในเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานแต่งงานจะเรียกว่า ชันชีกุกซู ซึ่งมีประเพณีว่าจะนำเส้นก๋วยเตี๋ยวใส่ลงไปในน้ำซุปร้อนๆ เสิร์ฟเป็นอาหารเลี้ยงต้อนรับให้แก่แขกที่มาร่วมงาน อาหารจานนี้มีความเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องชีวิตการแต่งงานที่มีความสุข เพราะอย่างนี้หากได้ยินคำถามว่า “เมื่อไหร่เราจะได้กินก๋วยเตี๋ยว” ผู้ฟังก็จะเข้าใจทันทีว่าผู้พูดหมายถึง “คุณวางแผนจะแต่งงานเมื่อไหร่” นอกจากนี้ยังนิยมกินกันในงานวันเกิด เนื่องจากสื่อถึงชีวิตที่ยืนยาวมีสุขภาพดี 

ชาวเกาหลีมีประเพณีในการกินแนงมยอนมาเป็นเวลานานมาแล้ว บะหมี่บัควีทเย็น มี 2 แบบหลักๆ ได้แก่ บะหมี่เย็นแบบพยองยาง (เปียงยาง) และแบบฮัมฮึง แบบแรกจะเสิร์ฟเป็นน้ำซุปเย็นใส่เส้น ส่วนฮัมฮึงแนงมยอนจะเป็นการคลุกแห้งกับซอสเผ็ด


 

ฮันจองซิก (อาหารชุดเกาหลี)

ฮันจองซิกหรืออาหารชุดเกาหลี โดยทั่วไปมีเพียงข้าว ซุป และกับข้าวอีกสามถึงห้าอย่าง (ส่วนใหญ่เป็นผัก) เมื่อคนเริ่มมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเจริญเฟื่องฟู อาหารชุดในปัจจุบันจึงหรูหรามากขึ้น มีกับข้าวเพิ่มหลายสิบชนิด มีทั้งเมนูเนื้อและเมนูปลา แต่อาหารจานหลักสามอย่าง คือ ข้าว ซุป และกิมจิก็ยังเป็นอาหารยืนพื้นอยู่เช่นเดิม เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ 2 เมืองของสาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ ชอนจู และกวางจู ขึ้นชื่อเรื่องชุดอาหารเกาหลีดั้งเดิมแบบเต็มรูปแบบ


Hanjeongsik (Korean Set Menu). This traditional Korean set meal typically consisted of rice and soup and an assortment of side dishes. The meal is often divided into subgroups according to the number of side dishes, i.e. 3, 5, 7, 9 and 12.ฮันจองซิก (อาหารชุดเกาหลี)

เป็นอาหารว่างทานเล่นเบาๆ เน้นธัญพืชกับข้าว และของหวาน มักจะแบ่งเป็นชุดย่อยตามจำนวนกับข้าวที่เสิร์ฟ เช่น 3, 5,  7, 9 และ12



 

Makgeolli. This rustic alcoholic beverage, which is widely popular in Korea, is made by fermenting steamed rice, barley, or wheat mixed with malt.

มักกอลลีเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกาหลีที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำโดยการนำข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์ แป้งสาลีต่างๆ มานึ่ง แล้วหมักกับน้ำและยีสต์




อาหารในวัดเกาหลี

อาหารในวัดเกาหลีคืออาหารที่ทำขึ้นและรับประทานในวัดยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการปรุงอาหารในแบบของตนไว้ โดยใช้ส่วนผสมนานาชนิดรังสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายรสชาติ  เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ไม่ฉันเนื้อสัตว์จึงได้มีการพัฒนาสูตรอาหารอย่างหลากหลายโดยใช้ถั่วและผักที่ช่วยเสริมโปรตีน ปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและผู้ที่ต้องควบคุมอาหารเนื่องด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพให้ความสนใจในอาหารวัดเกาหลีเป็นอย่างมาก



เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

เกาหลีมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายประเภทแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผลิตขึ้นตามความต้องการของชุมชน ใช้ในงานเทศกาล วันหยุด พิธีทำบุญรำลึก และโอกาสมงคลต่างๆ เหล้าเกาหลีชั้นสูงแบบดั้งเดิม อาทิ เหล้ามุนแบจูที่มีชื่อเสียงต่างๆ  เช่น มุนแบจู (เหล้าลูกแพรป่า) และซงจอลจู(เหล้าปุ่มไม้สน) ในโซล ซันซองโซจู (เหล้ากลั่น) ในกวางจู จังหวัดคยองกีโด ฮงจู (เหล้าแดง) และลีกังจู (เหล้ากลั่น) ในจังหวัดชอลลาโด โซกกจู (ไวน์ข้าว) ในฮันซัน จังหวัดชุงชองโด อินซัมจู (เหล้าโสม) ในคึมซัน คโยดงบอบจู (เหล้าข้าว) และอันดงโซจู (เหล้ากลั่น) ในคยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด และอกซอนจู (เหล้ากลั่น) ในฮงชอน จังหวัดคังวอนโด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดั้งเดิมตามท้องถิ่นและของครอบครัวต่างๆ อีกมากกว่า 300 ชนิด ปัจจุบันนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมไปทั่วเกาหลีก็คือ มักกอลลี (ไวน์ข้าว)  อย่างเช่น นงจู (ไวน์ชาวนา) เป็นไวน์ข้าวที่เกษตรกรนิยมดื่มกันอย่างมาก ทักจู (ไวน์ขุ่น) เป็นไวน์ข้าวที่มีลักษณะสีขาวขุ่น และทงดงจู เป็นไวน์ข้าวที่มีเมล็ดข้าวลอยอยู่ ทำโดยการนำข้าว ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวสาลีไปนึ่งจากนั้นนำไปหมักกับยีสต์ แล้วปล่อยทิ้งไว้

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงของเกาหลีอีกชนิดหนึ่งคือ โซจู ซึ่งทำโดยการเติมน้ำและแต่งกลิ่นรสให้กับแอลกอฮอล์ที่สกัดจากมันเทศและธัญพืช ด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันไปแต่สูงกว่ามักกอลลีอย่างมาก ผู้คนทั่วไปทั่วเกาหลีต่างชื่นชมและได้รับความสนใจนอกประเทศเกาหลีอย่างรวดเร็วนอก