เกี่ยวกับประเทศเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • เกี่ยวกับประเทศเกาหลี
  • ความเป็นอยู่
  • เทศกาล

วันหยุดเทศกาลและการเฉลิมฉลองต่างๆ


เทศกาล

เกาหลีเป็นสังคมเกษตรกรรมจวบจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 สังคมในอดีตจึงมีวิถีชีวิตตามฤดูกาลขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติ เนื่องจากการดำรงชีวิตที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลักจึงมีการประกอบพิธีกรรมกึ่งศาสนาขึ้นเพื่ออธิษฐานมากมายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ซึ่งต่อมาก็ค่อยๆพัฒนากลายมาเป็นงานเทศกาลเฉลิมฉลองประจำชุมชนซึ่งกิจกรรมต่างๆจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละภูมิภาคและจันทรคติ การเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินจันทรคติ คือการกินต็อกกุก (ซุปเค้กข้าว) ซึ่งหมายถึงอายุที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปีในวันเทศกาลนี้จะมีการเซแบ (โค้งคำนับ) แสดงความอวยพรต่อผู้ใหญ่ให้มีอายุยืนนานเมื่อผู้ใหญ่ได้รับการโค้งคำนับจะมีประเพณีว่าจะมอบเงินปีใหม่ที่เรียกกันว่า เซแบดนให้กับผู้ที่คำนับวันที่ 15 มกราคม ตามปฏิทินจันทรคติจะเป็นวันแทโบรึม (วันพระจันทร์เต็มดวง)ในวันนั้นผู้คนจะกินอาหารพิเศษที่เรียกว่า โอกกบับ ซึ่งทำมาจากธัญพืชห้าชนิดและทานพร้อมกับอาหารที่ปรุงด้วยพืชผักนานาชนิด มีการละเล่นที่เน้นให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคนในชุมชนและทำพิธีกรรมเพื่อขอให้เก็บเกี่ยวได้ผลดี

 

ชูซอกเป็นงานที่จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติมีการจัดพิธีแสดงความขอบคุณโดยนำพืชผักผลไม้ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้มาใหม่มอบให้กับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ และธรรมชาติ งานชูซอกเป็นหนึ่งในสองงานเทศกาลประจำปีที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะมารวมตัวกันนับเป็นงานเทศกาลที่มีความสำคัญไม่แพ้งานฉลองปีใหม่ตามจันทรคติ




เซแบ (โค้งคำนับวันปีใหม่)

วันซอลนัล (วันที่ 1 เดือนมกราคม ตามปฏิทินจันทรคติ) เป็นประเพณีโค้งคำนับทักทายในวันปีใหม่โดยคนที่
อายุน้อยกว่าจะทำการโค้งคำนับผู้ที่มีอายุมากกว่า



ชูซอกและการทำซงพยอน

วันชูซอก (วันที่ 15 สิงหาคม ตามปฏิทินจันทรคติ) ที่เป็นตัวแทนแห่งเทศกาลของประเทศเกาหลี ครอบครัวจะ
ทำซงพยอนเป็นอาหารหลักในวันชูซอก



วันเฉลิมฉลอง

พ่อแม่ชาวเกาหลีจะจัดงานวันครบรอบหนึ่งร้อยวันให้กับเด็กที่เกิดใหม่ เรียกว่าวันแพกิลจันชี ในวันเกิดปีแรกจะจัดงานฉลองที่เรียกว่าโทลจันชีให้กับลูก มีการจัดงานฉลองใหญ่และเชิญญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมงาน โดยปกติมักจะจัดงานเลี้ยงฉลองขนาดใหญ่ มีการทำพิธีขอพรให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง ประสบความสำเร็จในชีวิตและอายุยืนยาว มีวัฒนธรรมว่าผู้ร่วมงานจะมอบแหวนทองให้กับเด็กเป็นของขวัญพิเศษ

 

งานแต่งงานถือเป็นอีกหนึ่งงานเฉลิมฉลองที่สำคัญมากของคนเกาหลีก่อนศตวรรษที่ 20 แม้เป็นช่วงที่สังคมเกาหลีมีการแยกเพศของชายหญิงอย่างเข้มงวดโดยส่วนมากพ่อแม่ของพวกเขาใช้แม่สื่อจัดการเรื่องการแต่งงานให้กับลูกแต่ในปัจจุบันถือเป็นเรื่องธรรมดาอย่างมากที่จะรักและคบกันได้อย่างอิสระจนกระทั่งแต่งงาน

ชาวเกาหลีเรียกปี เดือน วัน และเวลาเกิด ว่าซาจู (สี่เสาแห่งโชคชะตา) ซึ่งเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อชะตากรรมของผู้คนในปัจจุบันมีธรรมเนียมการหาหมอดูทำนายทายทักโชคลาภในวันปีใหม่และก่อนแต่งงานจะแลกเปลี่ยนซาจู (เวลาตกฟาก) เพื่อนำไปดูดวงเพราะความเชื่อที่ว่าซาจูจะมีผลต่อโชคชะตาของผู้คนนั้นเอง


Traditional Wedding. The traditional Korean wedding ceremony largely consists of three stages: Jeonallye, in which the groom visits the bride’s family with a wooden goose; Gyobaerye, in which bride and groom exchange ceremonious bows; and Hapgeullye, where the marrying couple share a cup of wine. The photo shows a bride and groom exchanging ceremonious bows during the Gyobaerye stage of their wedding ceremony.

งานแต่งงานแบบดั้งเดิม พิธีแต่งงานของเกาหลีแบบดั้งเดิมมีสามขั้นตอน เริ่มจากช็อนอัลเล เจ้าบ่าวจะไปเยี่ยมครอบครัวของเจ้าสาวพร้อมห่านแกะสลักที่ทำจากไม้ ขั้นที่สองคือ คยอแบเร ในขั้นตอนนี้คู่บ่าวสาวจะโค้งคำนับซึ่งกันและกันต่อหน้าโชรเยซัง(โต๊ะทำพิธี) และขั้นสุดท้าย ฮับกึลเล ที่คู่บ่าวสาวจะสลับกันดื่มเหล้าแต่งงาน ภาพนี้แสดงขั้นตอนคยอแบเร ที่คู่บ่าวสาวกำลังโค้งคำนับซึ่งกันและกัน




งานแต่งงานดั้งเดิมจะเป็นเหมือนกับงานเทศกาลของหมู่บ้านทุกคนในชุมชนจะมารวมตัวกันเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกับเจ้าบ่าวเจ้าสาว ซึ่งเจ้าสาวจะใส่ชุดฮวา-รดหรูหราและสวมมงกุฎฮวาควันที่ศีรษะ ส่วนเจ้าบ่าวจะใส่ชุดที่เรียกว่าซาโมควันแด ซึ่งครอบครัว ญาติๆ และผู้คนในหมู่บ้านจะมาร่วมอวยพรให้แก่บ่าวสาวและจัดงานอย่างยิ่งใหญ่


ในเกาหลีจะถือว่าเด็กมีอายุหนึ่งขวบทันทีที่เกิดและในวันเกิดปีที่ 59 จะเรียกว่าฮวันกับชี (แซยิด) และอายุ 60 มีความหมายที่ลึกซึ้งตามคติความเชื่อของคนเกาหลี เนื่องจากสื่อถึงการผ่านรอบนักษัตรครบห้ารอบเมื่ออายุครบ 60 ปีตามอายุเกาหลีจะถือเป็นผู้สมควรได้รับการเคารพยกย่องเนื่องจากเป็นผู้ที่มีวัยวุฒิผ่านประสบการณ์ร้อนหนาวมาอย่างครบถ้วนซึ่งจะมีการจัดงานอวยพรให้อย่างยิ่งใหญ่แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการจัดงานฮวันกับชีมากนักเนื่องจากคนเกาหลีมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 80 ปีจึงมีประเพณีใหม่คือการฉลองเมื่ออายุครบ 70 ปีขึ้นมาแทน



วันหยุดประจำชาติ

รัฐบาลเกาหลีกำหนดให้มีวันหยุดประจำชาติ 5 วัน ดังนี้ วันเรียกร้องอิสรภาพของสาธารณรัฐเกาหลี (Independence Movement Day หรือซัมอิลจ็อลในวันที่ 1 มีนาคม 1919 เป็นวันรำลึกถึงการเคลื่อนไหวครั้งแรกซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์เริ่มแรกที่สาธารณชนเกาหลีออกมาต่อต้านการยึดครองประเทศของญี่ปุ่น วันรัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล) ในวันที่ 17 กรกฎาคม เป็นวันรำลึกถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเกาหลีเมื่อปี 1948 วันประกาศอิสรภาพ (ควางบกจอล) ในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 เป็นวันรำลึกการประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิญี่ปุ่น และวันสถาปนาประเทศ (แคชอนจอล) เป็นวันรำลึกการก่อตั้งอาณาจักรโคโชซอน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกของชาติเกาหลี ในวันที่ 3 ตุลาคม ตามปฏิทินจันทรคติในปี 2333 ก่อนคริสต์ศักราช และวันภาษาเกาหลี (ฮันกึลนัล) ในวันที่ 9 ตุลาคม 1446 เพื่อรำลึกถึงการประดิษฐ์และการประกาศใช้ระบบภาษาเกาหลี

วันหยุดนักขัตฤกษ์


วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคมเป็นวันหยุดราชการ วันซอลนัล (วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ) และวันชูซอก (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ) ทั้ง 2 วันนี้จะนับวันก่อนหน้าและหลังวันนั้นๆ เป็นวันหยุดรวมเป็น 3 วัน นอกจากนี้ วันประสูติของพระพุทธเจ้า (วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติ), วันเด็ก (วันที่ 5 พฤษภาคม), วันรำลึกถึงวีรชนแห่งชาติ (วันที่ 6 มิถุนายน) และวันคริสต์มาส (วันที่ 25 ธันวาคม) ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วย วันหยุดนักขัตฤกษ์ของสาธารณรัฐเกาหลีจะรวมหยุดประจำชาติไว้ด้วยและยกเว้นเพียงวันรัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล) ซึ่งรวมแล้วจะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ทั้งหมด 15 วัน




วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเกาหลี


ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1

วันปีใหม่

ซอลนัล 

(ปฏิทินจันทรคติ)

วันแรกของปี วันแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติ มีการรับประทานต็อกกุก (ซุปเค้กข้าว) เป็นการเติบโตขึ้นอีกหนึ่งปีและทำการแซเบ (การโค้งคำนับ) ผู้หลักผู้ใหญ่อย่างนอบน้อม

1 มีนาคม

วันเรียกร้องอิสรภาพของสาธารณรัฐเกาหลี 

(Independence Movement Day)

ฉลองเพื่อรำลึกถึงอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหวครั้งแรกในเดือนมีนาคมเป็นการเคลื่อนไหวของสาธารณชนอย่างยิ่งใหญ่เพื่อต่อต้านการยึดครองเกาหลีจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นเมื่อปี 1919

ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4

วันประสูติของพระพุทธเจ้า

 (ปฏิทินจันทรคติ)

เฉลิมฉลองวันประสูติของพระศากยมุนีพุทธเจ้า  มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองขึ้นตามวัดต่างๆ ทั่วเกาหลีในวันอาทิตย์ก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้าจะมีขบวนแห่โคมลอยรูปดอกบัวเรียงรายตามถนนชงโน

5 พฤษภาคม

วันเด็ก

มีการจัดกิจกรรมสนุกสนานมากมายเพื่อเด็กๆ ทั่วประเทศ

6 มิถุนายน

วันรำลึกถึงวีรชนแห่งชาติ

มีการจัดพิธีฮยอนจุงชิก (พิธีอนุสรณ์) ณ สุสานแห่งชาติเพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงเหล่าวีรชน และทหารผ่านศึกผู้สละชีพเพื่อชาติ

15 สิงหาคม

วันประกาศอิสรภาพ

ฉลองการประกาศอิสรภาพในปี 1945 สิ้นสุดการยึดครองที่ยาวนาน 35 ปี ของญี่ปุ่น และในวันเดียวกันนี้ในปี 1948 ก็ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้น

ขึ้น15 ค่ำ เดือน 8 

ชูซอก 

(ปฏิทินจันทรคติ)

วันโบรึมนัล ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติหรือที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆ เช่น ชูซอก และฮันกาวี เป็นงานเทศกาล ซึ่งเป็นวันที่ครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองและทำพิธีไหว้บรรพบุรุษ ในตอนกลางคืนผู้คนจะออกมาชมพระจันทร์เต็มดวงและอธิษฐานขอพร

3 ตุลาคม

วันสถาปนาประเทศ

ฉลองการก่อตั้งอาณาจักรโคโชซอน รัฐแห่งแรกของเกาหลีโดยพระเจ้าทันกุนในปี 2333 ก่อนคริสตกาล

9 ตุลาคม

วันฮันกึล 

(วันภาษาเกาหลี)

รำลึกถึงการประดิษฐ์และประกาศใช้ระบบเขียนภาษาเกาหลีหรือฮุนมินจองอึม (ฮันกึล)

25 ธันวาคม

คริสต์มาส

ฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์มีกิจกรรมทางศาสนาและงานรื่นเริงต่างๆ มากมายรวมทั้งชาวคริสต์และผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ทุกคนที่มาฉลองกัน