แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

Performance of Yeomillak (“Joy of the People”), court music composed during the reign of King Sejong in the 15th century.การแสดงของยอมินรัก (ความสุขของพระมหากษัตริย์กับปวงประชา) ดนตรีในราชสำนักที่ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าเซจงในช่วงศตวรรษที่ 15



คูกัก


คำว่าคูกักแปลตรงตัวว่า เพลงชาติ” ซึ่งหมายถึงเพลงเกาหลีแบบโบราณและศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่น เพลง การเต้นรำ และท่วงท่าประกอบพิธีกรรม ดนตรีในเกาหลีน่าจะมีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ แต่เพิ่งมีการศึกษาอย่างจริงจังในรัชสมัยพระเจ้าเซจงแห่งราชวงศ์โชซอน (1392-1910) ในตอนต้นศตวรรษที่ 15 นี้เอง ดนตรีเกาหลีได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบอันนำไปสู่การสร้างระบบตัวโน้ตดนตรีหรือที่เรียกกันว่าชองกันโบที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย พระเจ้าเซจงทรงพยายามปฏิรูปดนตรีในราชสำนักซึ่งไม่เพียงแต่นำไปสู่การสร้างระบบโน้ตดนตรีของเกาหลี แต่ยังมีการประพันธ์ดนตรีประกอบพิธีกรรมพิเศษ (ชองกันโบ) และยังสร้างเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรมพิเศษและยังมีการสร้างชงมโยเชเรอัก โดยในปี 2001 องค์การยูเนสโกได้จารึกไว้ในรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ และยอมินรัก ที่แสดงในระหว่างพิธีบูชาบรรพบุรุษของราชวงศ์ ที่ศาลชงมโย (Representative List of the Intangible Cultural Heritage  of Humanity) นอกจากนี้ยังมีเพลงยอมินรัก หรือ ความสุขของปวงประชา” คำว่าคูกักเป็นคำที่ใช้ครั้งแรกในช่วงปลายรัชสมัยโชซอน โดยชังอักวอน ซึ่งเป็นกรมดนตรีที่มีหน้าที่จัดหมวดหมู่ดนตรีเกาหลีดั้งเดิมแยกออกจากดนตรีต่างชาติ


ดนตรีเกาหลีโบราณแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ดนตรีแท้จริง  (ชองอัก หรือ ชองกา) ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเชื้อพระวงศ์และขุนนางในสมัยโชซอน ดนตรีพื้นบ้าน เช่น พันโซรีและซันโจ  (ดนตรีและการเต้นรำในราชสำนัก) ซึ่งเป็นการแสดงถวายกษัตริย์ในงานรัฐพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีดนตรีและการเต้นรำเกี่ยวพันกับประเพณีทางพุทธศาสนาและการทรงเจ้าไหว้ผี เช่น ซัลพูรี ซึงมู และอื่นๆ ดนตรีและการเต้นรำที่กล่าวมาข้างต้นเรียกได้ว่าเป็นดนตรีเกาหลีโบราณ ชองอักหมายถึงดนตรีซึ่งรวมถึงดนตรีในราชสำนัก บทเพลง และ ซีโจ (กลอนสามท่อนแบบโบราณของเกาหลี) ที่ชนชั้นสูงชื่นชอบ ส่วนดนตรีรูปแบบอื่นๆ เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงพุทธธรรม ทรงเจ้า ไหว้ผี พันโซรี ชับกา และซันโจ เป็นดนตรีที่ชนชั้นทั่วไปชื่นชอบ เรียกกันว่ามินโซคัก  ในบรรดาเพลงพื้นบ้านมากมายที่มีอยู่ เพลงอารีรังเป็นบทเพลงที่ตราตรึงอยู่ในใจของชาวเกาหลีซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น ชินโด ชองซอน และมิลยัง เนื่องจากมีหลายท่วงทำนองและคำร้อง ดัดแปลงขับขานให้สัมผัสเข้าถึงใจของผู้ฟัง องค์การยูเนสโกได้จารึกบทเพลงนี้ไว้ในรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible  Cultural Heritage of Humanity) เมื่อปี 2012


นอกจากนี้ชาวเกาหลียังได้พัฒนาเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท แบ่งออกได้เป็น 3 หมวด ประมาณ 60 ประเภท ที่ใช้ในการบรรเลงเพลงดนตรีโบราณเกาหลี มีเครื่องสาย ได้แก่ คายากึม คอมุนโก แฮกึม อาแจ็ง และบีพา เครื่องเป่า ได้แก่ พีรี แดกึม ทันโซ และแทพยองโซ และเครื่องตี ได้แก่ พุก ชังกู กแวงกวารี และชิง


พูแชชุม (ระบำพัด) รูปแบบการเต้นรำแบบดั้งเดิม เป็นการระบำถือพัดลวดลายดอกไม้ ผู้หญิงจะเป็นผู้แสดงและมักแสดง เป็นกลุ่ม



การระบำพื้นบ้าน


ชาวเกาหลีมีระบำพื้นบ้านที่หลากหลายสืบทอดมาแต่ครั้งโบราณกาล เช่น ซัลพูรีชุม (ระบำชำระล้างจิตวิญญาณ) คุดชุม (ระบำในพิธีทรงเจ้า) แทพยองมู (ระบำแห่งสันติสุข) ฮัลยังชุม (ระบำหนุ่มเจ้าสำราญ) พูแชชุม (ระบำพัด) คอมมู (ระบำดาบ) และซึงมู (ระบำพระ) ในบรรดาระบำเหล่านี้ ทัลชุม (ระบำหน้ากาก) และพุงมุลโนรี (การละเล่นประกอบกับเครื่องดนตรี) เป็นระบำที่มุ่งเพื่อเสียดสีการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเหล่าขุนนางสมัยโชซอน อีกทั้งยังมี นงอักชุม (ระบำชาวนา) ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อขอพรให้การทำนาอุดมสมบูรณ์โดยในการแสดงระบำหน้ากากและระบำชาวนานั้นจะใช้กลองและกแวงกวารี (ฆ้องโลหะขนาดเล็ก) เพื่อสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน


มยอง-ซอน (ทำสมาธิด้วยชา)” โดย คิม ชอง-ฮี  (นามปากกา: ชูซา 1786 - 1856) (ยุคโชซอน ศตวรรษที่ 19)


จิตรกรรมและอักษรวิจิตร


จิตรกรรมเป็นศิลปะสำคัญแขนงหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ภาพจิตรกรรมโบราณที่พบคือจิตรกรรมฝาผนังในสมัยโคกูรยอ (37 ก่อนคริสตกาล – 668) ซึ่งมีร่องรอยอันทรงคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวเกาหลีในอดีตเกี่ยวกับมนุษย์และจักรวาล รวมไปถึงทักษะและเทคนิคทาง ด้านศิลปะของผู้คนในสมัยนั้นตามประวัติศาสตร์ ศิลปะที่พบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนและได้ถ่ายทอดไปยังญี่ปุ่น ศิลปินสมัยโครยอ (918-1392) ให้ความสนใจในการถ่ายทอดสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาและสร้างผลงานชิ้นเอกเป็นมรดกมอบไว้ให้แก่ลูกหลานในสมัยโชซอน มีชื่อเสียงด้านรูปภาพที่วาดขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นสูงที่เรียกว่า มุนอินฮวา รูปแม่น้ำ ลำธาร และภูเขาถือเป็นรูปภาพที่เป็นที่นิยมทุกยุคทุกสมัย ในขณะที่กลุ่มปัญญาชนจะสนใจในด้านสัญลักษณ์นิยมเกี่ยวกับสัตว์และพรรณพืช เช่น เทพอริยะทั้งสี่ (ซากุนจา ได้แก่ กล้วยไม้  เบญจมาศ ไผ่ และต้นพลัม) เสือ กวาง และนกกระเรียน ซึ่งเป็นสัตว์ที่สำคัญในภาพวาด


คิม ฮง-โด และซิน ยุน-บก คือ 2 ศิลปินเลื่องชื่อแห่งศตวรรษที่ 18  ผู้ซึ่งหลงใหลในการวาดภาพกิจวัตรประจำวันของผู้คนในขณะทำงาน รูปภาพของศิลปินทั้งสองนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้หญิง กำลังคลายความร้อนที่ลำธารและแสดงให้เห็นขาอ่อนของผู้หญิง ซึ่งถือเป็นเรื่องราวที่น่าตกใจในสมัยนั้น


อักษรวิจิตรเป็นศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยมือที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ศิลปินถ่ายทอดความงามของตัวอักษรที่มีลายเส้นและรูปร่างแตกต่างกันไปด้วยการควบคุมน้ำหมึกให้มีความเข้มหนาบางต่างกัน แม้อักษรวิจิตรจะเป็นศิลปะเอกเทศ แต่ก็มีความเกี่ยวพันกับจิตรกรรมภาพหมึก เนื่องจากศิลปะทั้งสองแขนงนี้ใช้เทคนิคและเครื่องมือที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเรียกกันว่า สี่สหายแห่งการศึกษา (ได้แก่ กระดาษ แปรง แท่งหมึก และแท่นหินฝนหมึก)  เกาหลีมีนักอักษรวิจิตรมากมาย หนึ่งในนั้นคือคิมจองฮี (1786-1856)  ผู้พัฒนาการเขียนตัวอักษรในแบบฉบับของตน จนเป็นที่โด่งดัง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อชูซาเชหรือชูซาสไตล์ (ชูซา คือลายมือ) แม้แต่ศิลปินชาวจีนขั้นบรมครูแห่งยุคนั้นก็ยังประทับใจ และจวบจนปัจจุบันผลงานของเขาก็ยังได้รับการกล่าวขานถึงเรื่องความงามที่ไร้ซึ่งเงื่อนไขแห่งกาลเวลา

<b>Ssireum (Korean Wrestling) by Kim Hong-do (1745-1806).</b> This genre painting by Kim Hong-do, one of the greatest painters of the late Joseon Period, vividly captures a scene of traditional Korean wrestling where two competing wrestlers are surrounded by engrossed spectators.ซีรึม (มวยปล้ำเกาหลี) โดย คิม ฮง-โด (1745-1806) ภาพวาดของคิม ฮง-โด หนึ่งในจิตรกรชั้นเยี่ยมในช่วงปลายรัชสมัยโชซอน ภาพนี้ถ่ายทอดฉากการแข่งขันมวยปล้ำเกาหลีแบบโบราณได้อย่างมีชีวิตชีวา เป็นภาพนักมวยปล้ำสองคนล้อมรอบไปด้วยผู้ชมที่กำลังใจจดใจจ่อกับการแข่งขัน 



ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

<b>Kiln Site in Gangjin, Jeollanam-do.</b> The remains of ancient kilns can be seen in Gangjin, which was one of the main producers of celadon wares during the Goryeo period.เตาเผาในคังจิน จังหวัดชอลลานัมโด เตาเผาโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่พบได้ที่คังจิน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญในยุคโครยอ



ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา 


ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาของเกาหลีได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากเหล่านักสะสมชาวต่างชาติ งานเครื่องปั้นของเกาหลีแบ่งออกได้เป็น กลุ่ม ได้แก่ ชองจา (เครื่องสังคโลกสีฟ้าเขียว) บุนชอง (เครื่องถ้วยหินเคลือบ) และแพ็กจา (เครื่องสังคโลกสีขาว) เครื่องสังคโลกนี้หมายถึงเครื่องถ้วยของเกาหลีที่ช่างปั้นหม้อยุคโครยอรังสรรค์ขึ้นเมื่อราว 700-1,000 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่เกาหลีมี ซังกัม ชองจา คือเครื่องปั้นดินเผาที่ขูดพื้นผิวและทำลวดลายด้วยดินสีขาวและสีดำ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของเกาหลี โดยที่คังจิน จังหวัดชอลลานัมโด และ พุอัน จังหวัดชอลลาบุกโด คือสถานที่ปั้นที่สำคัญในยุคสมัยโครยอ (918-1392)


(Clockwise from left top) Celadon Melon-shaped Bottle (Goryeo, 12th century); Celadon Jar with Peony Design (Goryeo, 12th century); White Porcelain Bottle with String Design in Underglaze Iron (Joseon, 16th century); Buncheong Bottle with Lotus and Vine Design (Joseon, 15th century) (Source: National Museum of Korea)

1. ขวดเครื่องสังคโลกทรงกลม (โครยอ ศตวรรษที่ 12) 

2. เครื่องสังคโลกลายดอกโบตั๋น (โครยอ ศตวรรษที่ 12) 

3. ขวดพุนชองลายดอกบัวและไม้เลื้อย (โชซอน ศตวรรษที่ 15) 

4. ขวดกระเบื้องสีขาวลายเส้นลงสีเหล็กเคลือบ (โชซอน ศตวรรษที่  16)  

(ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี)


เครื่องสังคโลกขาวเป็นงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาที่โดดเด่นในสมัยโชซอนเมื่อ 100 - 600 ปีก่อน แม้เครื่องปั้นบางชิ้นจะมีพื้นผิวที่เป็นสีขาวนวล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีการประดับตกแต่งลวดลายหลายแบบทาสีที่ได้มาจากเหล็กออกไซต์ ทองแดง หรือสีฟ้าโคบอลต์ราคาแพงที่นำเข้ามาจากเปอร์เซียผ่านทางประเทศจีน ราชสำนักโชซอนสร้างเตาเผาของตนเองในกวางจู จังหวัดคยองกีโดเพื่อเอาไว้ผลิตเครื่องปั้นคุณภาพสูง เทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตเครื่องสังคโลกสีขาวของเกาหลีถ่ายทอดไปยังญี่ปุ่นโดยช่างปั้นหม้อโชซอนที่ถูกลักพาตัวไปช่วงสงครามอิมจินแวรัน (การบุกรุกรานของญี่ปุ่น ปี 1592-1598) 

ช่วง 500-600 ปีก่อน นอกจากเครื่องสังคโลกและเครื่องปั้นลายครามแล้ว ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของเกาหลีกลุ่มที่ 3 คือ บุนชอง ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน รังสรรค์ขึ้นโดยช่างปั้นโครยอ หลังจากที่อาณาจักรโครยอล่มสลายในปี 1392 เครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะที่พื้นผิวเคลือบเรียบลื่นและมีการตกแต่งลวดลายที่เรียบง่ายโดยใช้เทคนิคต่างๆ งานศิลปะแบบดั้งเดิม ทั้งงานจิตรกรรม อักษรวิจิตร และเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสม มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวางตามหอศิลป์และร้านขายของโบราณที่อินซา-ดง กรุงโซล และผ่านการประมูลอีกด้วย 


ศิลปหัตถกรรม


ช่างฝีมือและผู้หญิงชาวเกาหลีในอดีตได้พัฒนาเทคนิคต่างๆ เพื่อทำข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นภายในบ้าน พวกเขาทำเครื่องเรือนหลากหลายอย่างจากไม้ เช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของและโต๊ะที่มีรูปทรงที่โดดเด่นได้สมดุลและมีสมมาตร นอกจากนี้ยังมีตะกร้าสาน กล่องและเสื่อที่ทำจากไม้ไผ่ หวาย หญ้า ต้นไม้กวาดวิสทีเรีย และเลสเพเดซ่า มีการใช้กระดาษสาเกาหลีทำหน้ากาก ตุ๊กตา และเครื่องตกแต่งในงานพิธี แล้วตกแต่งลงรักข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยสีดำและแดงที่ได้มาจากธรรมชาติ 


ต่อมาได้มีการพัฒนาในการตกแต่งเครื่องเรือนให้วิจิตรงดงามมากขึ้น โดยการนำเอาเปลือกหอย น้ำเต้า และเขาวัวที่ย้อมสีสันสวยงามมาประดับตกแต่ง การเย็บปักถักร้อย การถักปม (แมดึบ) และการย้อมสีธรรมชาติก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงานศิลปะและงานฝีมือแบบดั้งเดิมของเกาหลี ซึ่งการเย็บปักถักร้อยได้นำมาใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้า เครื่องประดับติดหน้าอกเสื้อฮันบกสตรี ฉากกั้นและเบาะนั่ง รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับให้มีความสวยงาม


150209_FAK_traditional_arts_7.jpgตู้สองลิ้นชัก ตู้ไม้งามวิจิตรหลังนี้ใช้สำหรับเก็บเสื้อผ้า ตกแต่งอย่างหรูหราด้วยลวดลายประดับมุกซึ่งมีความทนทาน มีประโยชน์และมีคุณค่าทางศิลปะ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี)



กล่องหวี เครื่องใช้ของสุภาพสตรี



ผ้าย้อมสีธรรมชาติ 



เครื่องประดับถักทอที่มีลวดลายและสีต่างๆ




ตุ๊กตากระดาษสาเกาหลีที่ใช้วัตถุดิบจากเปลือกของต้นไม้ชื่อดักนามู โดยการทำเป็นฮันจี (กระดาษดักจงอี) มาติดซ้อนๆ กันขึ้นเป็นตุ๊กตา