แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี


เกาหลีประสบความสำเร็จการเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น มีความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในด้านต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เซมิคอนดักเตอร์, รถยนต์, เคมีภัณฑ์ และเหล็กกล้า และเมื่อไม่นานมานี้ เนื้อหาทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี เกม และเว็บตูน กำลังเกิดขึ้นในฐานะอุตสาหกรรมสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกาหลี


รัฐธรรมนูญของเกาหลีได้บัญญัติไว้ว่า "สิทธิ์ในทรัพย์สินของพลเมืองทุกคนได้รับการค้ำประกัน" นั่นคือเกาหลีได้ตั้งอยู่บนระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ดังนั้นจึงช่วยให้บุคคลและธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างอิสระ และรับประกันผลกำไรและทรัพย์สินของพวกเขา


Cars Exported from Hyundai Motor’s Ulsan Factory. Cars are one of the country's major export items.

รถยนต์ส่งออกจากโรงงานของฮุนได มอเตอร์ ในเมืองอุลซาน รถยนต์เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ


อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้รับประกันการแสวงหาเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีเสรีภาพไร้ขีดจำกัด รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าสถานการณ์ที่ไม่เป็นธรรมย่อมได้รับการแก้ไขหากพบว่ามีการใช้เงินทุนในทางที่ผิดอันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีให้ดีขึ้น 


เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วอย่างไม่คาดคิด นักสังเกตการณ์เรียกความสำเร็จของประเทศแห่งนี้ว่า ”ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน” เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศได้ถูกทำลายลงเกือบหมดในสมัยสงครามเกาหลีที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปี 1950 ถึง 1953 เป็นเวลานาน 3 ปี ทำให้ประเทศขาดแคลนเงินทุนและ ทรัพยากรทางธรรมชาติ



5 สินค้าส่งออกชั้นนำและยอดส่งออกของเกาหลีใต้ 
(หน่วย: 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยใช้หน่วย 3 MTI / สมาคมการค้าระหว่างประเทศแห่งเกาหลี ปี 2019) 



ในต้นทศวรรษ 1960 เกาหลีใต้ได้ดำเนินแผนการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาการส่งออก ในช่วงแรกสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเบาซึ่งผลิตในโรงงานขนาดเล็ก หรือสินค้าวัตถุดิบ ในทศวรรษที่ 1970 เกาหลีใต้ได้ลงทุนในโรงงานเคมีขนาดใหญ่และสร้างรากฐานในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหนัก ในปัจจุบันเกาหลีใต้ลงทุนกับโรงงานเคมีหนักและวางพื้นฐานสำหรับการส่งออกผลิภัณฑ์อุตสาหกรรมหนัก ขณะนี้ได้เป็นผู้นำในภาคเซมิคอนดักเตอร์และการแสดงผล


เกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1988 ณ กรุงโซล ซึ่งได้ช่วยผลักดันให้เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศกึ่งก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สื่อมวลชนนานาชาติขนานนามเกาหลีใต้ว่าเป็นหนึ่งใน 4 เสือแห่งเอเชีย โดยอีก 3 ประเทศที่ว่าคือ ไต้หวัน, สิงคโปร์ และฮ่องกง เมื่อเดือนธันวาคมปี 1996 เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศอันดับที่ 29 ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาติมหาอำนาจ


ในปี 1960 มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้อยู่ที่ 32.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้เพิ่มขึ้นถึงระดับหมื่นล้านในปี 1977 และพุ่งขึ้นถึง 542.2 พันล้านในปี 2019 รายได้ต่อหัวประชากร (GNI per capita) ของเกาหลีใต้จากที่เคยอยู่ที่ 67 เหรียญสหรัฐในปี 1953 ในปีมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ได้ปรับตัวขึ้นเป็น 32,115 เหรียญสหรัฐในปี 2019


ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และรายได้ต่อหัวประชากร (Per capita GNI) 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หน่วย : 100 ล้านเหรียญสหรัฐ)
รายได้ต่อหัวประชากร (หน่วย : 1 เหรียญสหรัฐ)
(ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศเกาหลี ในปี 2020)


สาธารณรัฐเกาหลีได้ค่อยๆ จัดทำโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการส่งออกอย่างต่อเนื่องโดยเน้นไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโต แต่เนื่องจากประเทศขาดแคลนเงินทุนและทรัพยากร กลุ่มบริษัทจึงได้เข้ามามีอิทธิพลในวงการอุตสาหกรรม ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกและนำเข้าเป็นอย่างมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกได้ง่าย


ในเดือนพฤศจิกายนปี 1997 วิกฤตเงินตราต่างประเทศส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศ ทำให้เกาหลีใต้ต้องหันไปพึ่งเงินกู้จาก IMF เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอุปสรรคอย่างแรกที่ประเทศต้องเผชิญหลังจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาหลายปี เกาหลีใต้จึงใช้ โอกาสนี้ในการกำจัดธุรกิจที่อยู่ในสภาพย่ำแย่ออกจากตลาด แล้วสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างทางอุตสาหกรรม ภายในเวลาเพียง 2 ปี เกาหลีใต้ก็ได้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิมด้วยอัตราการเติบโตและระดับราคา เช่นเดียวกับยอดดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงนั้นชาวเกาหลีใต้ประมาณ 3.5 ล้านคน เข้าร่วมโครงการสะสมทองคำ เพื่อช่วยรัฐบาลใช้หนี้ IMF และมียอดสะสมทองคำรวมมากถึง 227 ตัน ทั่วโลกต่างประหลาดใจกับการที่ชาวเกาหลีต่างสมัครใจเข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยชดใช้หนี้สินของชาติ

ท่ามกลางความพยายามร่วมกันในการต่อสู้ให้หลุดพ้นจากวิกฤตการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เกาหลีใต้ได้ประโยชน์จากการเกื้อกูลกัน เช่น การปรับใช้ระบบทางเศรษฐกิจและการคลังระดับโลก แต่กระบวนการปรับโครงสร้างก็มีข้อเสียเช่นกัน ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้นและความไม่สมดุลของรายได้มีเพิ่มมากขึ้น

หลังจากผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ได้เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า จาก 504.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2001 เป็น 1,646.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 ซึ่งเป็นอันดับที่ 12 ของโลกอันที่จริงในช่วงปี 2008-2010 ที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเงินซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เกาหลีใต้กลับมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 6.3% สื่อมวลชนที่สำคัญของโลกต่างกล่าวถึงความสำเร็จของเกาหลีใต้ว่าเป็น "การฟื้นตัวตามตำรา"



ปริมาณการค้า (ปริมาณการส่งออก)

(หน่วยคือ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ / จากสำนักงานสถิติเกาหลี ปี 2017)





ทุนสำรองระหว่างประเทศ 
(หน่วยคือ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ / ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศเกาหลี ปี 2020)



ในปี 2010 เกาหลีใต้ได้ผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกมากที่สุด เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ช่วงระหว่างปี 2011-2014 ปริมาณรวมการส่งออกและนำเข้าของประเทศมีมูลค่าระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเนื่องทั้ง 4 ปีติดต่อกัน ปริมาณการค้าหดตัวในปี 2015-2016 แต่กลับพุ่งสูงขึ้นถึงระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอีกครั้งในปี 2017


ทุนสำรองระหว่างประเทศของเกาหลีใต้อยู่ที่ 408.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 โดยมีอัตราร้อยละของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ 32.9% ในปี 2019 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางของกลุ่มประเทศ G20 อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง