เกี่ยวกับประเทศเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • เกี่ยวกับประเทศเกาหลี
  • เศรษฐกิจ
  • การเปิดตลาดเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของเกาหลี

เกาหลีใต้ใช้เศรษฐกิจแบบเปิด จึงมีการเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี และยังได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างเสรี ใน ขณะเดียวกันก็ได้สนับสนุนธุรกิจภายในประเทศให้ไปลงทุนในต่างประเทศได้อย่างเสรีอีกด้วย เกาหลีใต้ได้เสนอข้อได้เปรียบให้กับนักลงทุนต่างชาติมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์ระยะยาวในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินและศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

ตลาดเปิดและเขตการค้าเสรี

เกาหลีใต้ได้เปิดตลาดในหลายส่วนภาค ซึ่งรวมถึงในด้านเกษตรกรรม ชาวเกาหลีให้ความสำคัญกับด้านเกษตรกรรมเป็นอย่างมากมาช้านานโดยมองว่าเป็นพื้นฐานจักรวาล ถึงกระนั้นเกาหลีใต้ก็ได้วางแผนที่จะเปิดตลาดข้าวซึ่งเป็นสินค้ารายการสุดท้ายที่จะเปิดการค้าอย่างเสรีในภาคเกษตรกรรมในปี 2015 

เกาหลีใต้ดำเนินการเปิดตลาดเสรีทั้งหมดอย่างต่อเนื่องผ่านเขตการค้าเสรี และวางแผนจะลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ โดยมุ่งหวังที่จะขยายพื้นที่ทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก 

ในปี 2017 เกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับ 52 ประเทศ รวมถึง ชิลี สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) อินเดีย สหภาพยุโรป (EU) เปรู สหรัฐอเมริกา ตุรกี ออสเตรเลีย แคนาดา จีน นิวซีแลนด์ เวียดนาม และโคลัมเบีย โดยที่เกาหลีใต้ได้ริเริ่มเขตการค้าเสรีกับ 5 ประเทศในอเมริกากลาง ได้แก่ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ นิการากัว ฮอนดูรัส และปานามา


A view of Busan Harbour, the largest port in South Korea

ทิวทัศน์ของท่าเรือปูซาน ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้




สนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)


เกาหลีใต้ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ ในเกาหลีใต้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หมายความว่า “ชาวต่างชาติสามารถถือครองหุ้นของบริษัทจำกัดของธุรกิจภายในประเทศได้ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป โดยการลงทุนที่ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านวอน หรือบริษัทที่มีฐานในต่างประเทศสามารถกู้ยืมเงินระยะยาว (ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) จากบริษัทแม่ในต่างประเทศและอื่นๆ ได้ในทำนองเดียวกัน

ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลรับประกันผลกำไรให้กับชาวต่างชาติและเสนอผลประโยชน์หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น มาตรการทางภาษีอากร การช่วยเหลือทางการเงิน และการผ่อนปรนในระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน เกาหลีใต้ยังคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของชาวต่างชาติด้วย นักลงทุนต่างชาติสามารถนำผลกำไรที่ได้ในเกาหลีใต้ออกนอกประเทศได้ บนพื้นฐานของการดำเนินงานที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเกาหลีใต้ในเรื่องที่ดินสำหรับการสร้างโรงงานและศูนย์วิจัย การซื้อ เช่า หรือสร้างอาคาร รวมทั้งการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางการสื่อสารและไฟฟ้า นักลงทุนต่างชาติสามารถขอ ชำระเงินเป็นงวดได้เป็นระยะเวลานานถึง 20 ปี หากซื้อที่ดินของรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่น 

รัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามจำนวนการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และจำนวนลูกจ้างภายในท้องถิ่น รัฐบาลพร้อมและเต็มใจให้ความช่วยเหลือทางด้านที่ดินและเงินทุนหากธุรกิจต่างชาติสามารถแสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมทางเทคโนโลยีและสามารถรักษาจำนวนลูกจ้างภายในท้องถิ่นตามที่กำหนดได้



การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 
(หน่วย1 ล้านเหรียญสหรัฐ / กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน ปี 2020)

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในประเทศเพิ่มขึ้นทันที หลังจากวิกฤตเงินตราต่างประเทศในปี 1998 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนสะสมของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2019 มีมูลค่า 23.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่บรรลุเป้าหมายสำคัญมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตที่สมดุลทางด้านประเภทธุรกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้แตกต่างไปตามประเภทการลงทุน รัฐบาลมีแผนที่จะเปลี่ยนนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติและบริษัท 'ไป-กลับ(บริษัทเกาหลีที่เน้นการลงทุนในเกาหลีมากกว่าการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น) เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังได้เชิญประเทศใหม่ๆ ด้วยเงินทุนที่เกินดุล รวมถึงประเทศจีนและประเทศในตะวันออกกลางให้เข้ามาลงทุนในภาคบริการของประเทศที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ในด้านการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รัฐบาลเกาหลีได้จัดงาน Foreign Investment Week (FIW) และให้บริการพรมแดง 'Red Carpet Service' แก่นักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลยังดำเนินโครงการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น รวมทั้งส่งคณะผู้แทนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและสนับสนุนโครงการการลงทุน

นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งบุคคลในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน และ ญี่ปุ่นให้เป็นทูตประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศเกาหลีอีกด้วย

การลงทุนเพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าในระดับภูมิภาค


Incheon Airport as a Hub Airport Incheon Airport, a regional hub airport, is a place where all airplanes around the world can be operated for 24 hours without worrying about weather condition. In Northeast Asia, the main regional hub airports include Kansai Airport in Osaka, Chek Lap Kok Airport in Hong Kong, Pudong Airport in Shanghai, and Incheon Airport in South Korea.

สนามบินอินชอน สนามบินศูนย์กลาง

สนามบินอินชอน สนามบินศูนย์กลางของภูมิภาค เป็นสถานที่ที่เครื่องบินจากทั่วโลกสามารถให้บริการตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องกังวลด้านสภาพอากาศ สนามบินที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือนั้นรวมถึง สนามบินคันไซ ในโอซาก้า สนามบินเช็กแล็บก๊อก ในฮ่องกง สนามบินผู่ตง ในเซี่ยงไฮ้ และสนามบินอินชอนในเกาหลีใต้



แนวโน้มของการขนส่งสินค้าทางอากาศผ่านและการถ่ายโอนสินค้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน
- ปริมาณการขนส่งสินค้า (หน่วยเมตริกตัน)
- ปริมาณการถ่ายโอนสินค้า (หน่วย: % ของประมาณการขนส่งสินค้า)
(ข้อมูลจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ปี 2019)



ปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์และการขนถ่ายที่ท่าเรือ
- ปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ (หน่วย: 1,000 ตัน)
- ปริมาณการถ่ายโอนสินค้า (หน่วย1,000 ตัน)
(ข้อมูลจากกระทรวงมหาสมุทรและการประมง ปี 2020)



 

สาธารณรัฐเกาหลีได้เตรียมการที่จะรองรับกับช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกนำเข้ารวมกันสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังพยายามก้าวขึ้นเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

สาธารณรัฐเกาหลีทุ่มทุนกับการวางระบบอัตโนมัติ และศูนย์ขนส่งสินค้าส่งออกนำเข้าที่ทันสมัย โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านโลจิสติกส์

เกาหลีกำลังพยายามสร้างเครือข่ายการขนส่งสินค้าทางอากาศและขยายศูนย์อุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ใกล้สนามบิน


สนามบินนานาชาติอินชอนได้สร้างสถิติสูงสุดตลอดกาลในด้านปริมาณการขนส่งสินค้า การเติบโตยังคงดำเนินต่อไป โดยแตะ 2.76 ล้านตันในปี 2019 จากข้อมูลของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ หรือ Airports Council International (ACI) ตั้งแต่ปี 2013 ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ (UAE) อยู่ในอันดับที่ 2 ในแง่ของปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แซงหน้าท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนพยายามกลับมาสู่จุดเดิมโดยการขับเคลื่อนกลไกการเติบโตในอนาคตด้วยระบบที่จูงใจสำหรับโลจิสติกส์ในปี 2018


การขนส่งสินค้าทางอากาศมีมูลค่าเพิ่มสูง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของค่าขนส่งทั้งหมด แม้ว่าจะคิดเป็นเพียง 0.2 0.3% ของการขนส่งสินค้าทุกรูปแบบในแง่ของน้ำหนัก รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ขยายสถานีขนส่งสินค้าของสนามบินอินชอน และฝึกอบรมเยาวชนที่มีความสามารถให้ดูแลการขนส่งทางอากาศในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ระบบโลจิสติกส์การบินกำลังได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูง สนามบินนานาชาติอินชอนมีระบบข้อมูลโลจิสติกส์ทางอากาศที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการจองสินค้าและติดตามสินค้า และยังคงมีการชดเชยข้อผิดพลาดต่อไป


การเปิดอาคารผู้โดยสาร 2 ในเดือนมกราคม 2018 ความสามารถในการขนส่งสินค้าประจำปีของสนามบินนานาชาติอินชอนได้เพิ่มขึ้นจาก 4.5 ล้านตันก่อนหน้านี้ เป็น 5.8 ล้านตัน

เป็นที่น่าสังเกตว่าสนามบินนานาชาติอินชอนติดอันดับ 1 ของโลก เป็นเวลา 12 ปีติดต่อกัน ในการประเมินการบริการของสนามบินประจำปีโดยบริษัทที่ปรึกษาทางการบิน (Aviation Consultants, Inc หรือ ACI) ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาของสนามบินกว่า 1,700 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการจัดการที่มีคุณภาพของสนามบินนานาชาติอินชอน ยิ่งไปกว่านั้นสนามบินแห่งนี้ยังเป็นสนามบินแห่งแรกของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอยู่ในหอเกียรติยศของ สภาท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airports Council International Hall of Fame)

เกาหลีใต้ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมีท่าอากาศยานเพื่อการค้านานาชาติหลายแห่ง เช่น ปูซาน อินชอน พยองแท็ก ควางยาง อุลซัน โพฮัง และทงแฮ ในปี 2019 ปริมาณสินค้าที่ผ่านการจัดการที่ท่าอากาศยานในประเทศอยู่ที่ 1,643.97 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า