แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

KOREAN CULTURAL CENTER

  • แนะนำศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี


ประวัติศาสตร์ของชาวเกาหลีเริ่มต้นขึ้นในแมนจูเรียและคาบสมุทร เกาหลีซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้นเมื่อ 700,000 ปีมาแล้ว สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับมนุษย์ยุคหินเก่า ซึ่งใช้เครื่องมือที่ทําจากเขาสัตว์และเครื่องมือที่ทําจากหินสลัก ได้แก่ ถ้ำคอมึนโมรูในซังวอน จังหวัดพยองอันนัมโด ชอนกก-รีในยอนชอน จังหวัดคยองกีโด ซอกจัง-รีในคงจู จังหวัดชุงชองนัมโด และถ้ำทูรูบงในชองวอน จังหวัดชุงชองบุกโด มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรในช่วงแรกนั้นดํารงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาพืชกินได้โดยร่วมมือกันเป็นกลุ่ม

combpottery_500.jpg

เครื่องปั้นดินเผาลายเส้น วัตถุที่มีก้นแหลมชิ้นนี้พบในอัมซา-ดง กรุงโซล 

ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ที่สำคัญของยุคหินใหม่ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี)



ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ประเทศ (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - โคโชซอน)

ประวัติศาสตร์ของชาวเกาหลีเริ่มต้นขึ้นในแมนจูเรียและคาบสมุทร เกาหลีซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้นเมื่อ 700,000 ปีมาแล้ว สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับมนุษย์ยุคหินเก่า ซึ่งใช้เครื่องมือที่ทําจากเขาสัตว์และเครื่องมือที่ทําจากหินสลัก ได้แก่ ถ้ำคอมึนโมรูในซังวอน จังหวัดพยองอันนัมโด ชอนกก-รีในยอนชอน จังหวัดคยองกีโด ซอกจัง-รีในคงจู จังหวัดชุงชองนัมโด และถ้ำทูรูบงในชองวอน จังหวัดชุงชองบุกโด มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรในช่วงแรกนั้นดํารงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาพืชกินได้โดยร่วมมือกันเป็นกลุ่ม

 

ในเกาหลียุคหินใหม่เริ่มต้นราวๆ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์ ในสมัยนั้นเริ่มเพาะปลูกธัญพืช เช่น ข้าวฟ่าง และใช้เครื่องมือที่ทำจากหินขัด นอกจากนี้ยังเริ่มตั้งถิ่นฐานถาวรและรวมกลุ่มเป็นสังคมเผ่า


มีการทำหินบดหลายชนิดโดยการบดหิน สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ ที่สําคัญของยุคหินใหม่คือเครื่องปั้นดินเผาลายเส้นที่พบทั่วไป ในคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงอัมซา-ดง ในกรุงโซล นัมคยอง ใน เปียงยางและซูกา-รี ในคิมแฮ จังหวัดคยองซังนัมโด


handaxe_500.jpg

ขวานมือ เครื่องมืออเนกประสงค์ชนิดนี้ย้อนกลับไปถึงยุคหินเก่า มีการพบขวานมือในชอนกก-รี อําเภอยอนชอน จังหวัดคยองกีโด



ยุคสัมฤทธิ์เริ่มประมาณศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลในคาบสมุทรเกาหลีและเริ่มในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาลในแมนจูเรีย สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับยุคสัมฤทธิ์พบในมณฑลเหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน และพบทั่วไปในคาบสมุทรเกาหลี การพัฒนาวัฒนธรรมของยุคสัมฤทธิ์ทำให้เริ่มมีสังคมที่หัวหน้าเผ่าแผ่อิทธิพล ผู้นําเผ่าที่แข็งแกร่งที่สุดจะรวม เผ่าต่างๆ เข้าด้วยกัน

 

กลุ่มเหล่านี้ค่อยๆ พัฒนาอย่างช้าๆ เข้าสู่อาณาจักรชนเผ่าที่มีบทบาทสําคัญในการก่อตั้งอาณาจักรโคโชซอนซึ่งถือเป็นยุคแรกของชาวเกาหลีนั้นนับถือเทพบนสวรรค์และหมี 2 ชนเผ่าได้ยกย่องทันกุน วังกอมในฐานะหัวหน้าผู้นําทางศาสนาและเป็นผู้นําทางการเมืองด้วย อาณาจักรโชซอนโบราณมีวัฒนธรรมที่ต่างจากมณฑลเหลียวหนิงของประเทศจีนและมีวัฒนธรรมโดดเด่นในแถบบริเวณแม่น้ำแทดงกัง เมื่อถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์พูและกษัตริย์จุนมีอํานาจมากและลูกชายของกษัตริย์เหล่านี้ก็ได้สืบทอดราชบัลลังก์พร้อมกับตั้งกฎที่เป็นระบบที่ชัดเจนโดยได้รับการสนับสนุนจากข้าราชบริวารชั้นสูงและเหล่าทหาร

 

ปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชในประเทศจีน ราชวงศ์ฉินสูญเสียอํานาจให้กับราชวงศ์ฮั่น และเป็นช่วงเวลาระส่ำระสายทางการเมือง ประชากรจํานวนมากอพยพลงใต้เข้าสู่อาณาจักรโคโชซอน พระเจ้าวีมันซึ่งเป็นผู้นําของคนกลุ่มนี้ขึ้นครองราชย์ในปี 194 ก่อนคริสตกาลและอาณาจักรโคโชซอนก็ขยายเขตแดนภายใต้อํานาจของพระเจ้าวีมัน โดยในยุคนี้อาณาจักรโคโชซอนเริ่มรับเอาวัฒนธรรมของยุคเหล็กมาใช้การเกษตรกรรมและหัตถกรรมที่หลากหลายได้รับการพัฒนา รวมถึงเพิ่มกําลังทางการทหารและพยายามเข้ายึดครองตลาดโดยเป็นตัวกลางการค้าระหว่าง คาบสมุทรเกาหลีกับจีนเนื่องจากอาณาบริเวณอยู่ใกล้จีน 


ซึ่งนําไปสู่การเผชิญหน้ากันระหว่างอาณาจักรโคโชซอนกับราชวงศ์ฮั่นในจีน โดยกองทัพของราชวงศ์ฮั่นเข้าโจมตีอาณาจักรโคโชซอน อย่างหนักหน่วงทั้งทางบกและทางน้ำ อาณาจักรโคโชซอนต่อสู้ ต้านทานการโจมตีนี้และได้รับชัยชนะในช่วงแรกของสงคราม แต่หลังจากที่สงครามผ่านไป 1 ปี ป้อมปราการวังกอมซองในเมืองหลวงก็พังทลายลง อาณาจักรโคโชซอนจึงล่มสลายในที่สุดในปี 108 ก่อนคริสตกาล


tabledolman_700.jpg

เพิงหินที่มีลักษณะคล้ายโต๊ะในหมู่บ้านพูกึน-รี เกาะคังฮวา


dolmanpark_700.jpgอุทยานเพิงหินในซุนชอน จังหวัดชอลลานัมโด



เพิงหิน (ดอลเมน)


เพิงหินเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ได้แก่พีระมิดแห่งกีซา กําแพงเมืองจีน สโตนเฮนจ์ในอังกฤษและอื่นๆ เพิงหินหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วคาบสมุทรเกาหลีเทียบได้กับสิ่งอัศจรรย์ของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ คาบสมุทรเกาหลีมีเพิงหินมากกว่า 40,000 ชิ้น หรือประมาณครึ่งหนึ่งของเพิงหินทั้งหมดที่พบในโลก

 

มีการขุดพบโบราณวัตถุหลากหลายประเภทใต้เพิงหินหลายแห่ง เช่น กระดูกมนุษย์โบราณวัตถุที่ทําจากหยกและทองสัมฤทธิ์ วิธีการก่อสร้างนั้นคาดเดาได้ยากและการดำรงอยู่นั้นก็ยังคงเป็นปริศนา


เพิงหินในเกาหลีแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทโต๊ะ และประเภทกระดานหมากล้อม แบ่งตามรูปร่างของเพิงหิน โดยส่วนใหญ่จะพบประเภทโต๊ะทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี สร้างขึ้นโดยการวางหิน 4 ก้อนเพื่อทำเป็นผนัง จากนั้นจึงปิดทับด้วยหินที่วางอยู่บนฐานรองรับ ส่วนประเภทกระดานหมากล้อมมีลักษณะเฉพาะด้วยการฝังศพใต้ดินด้วยหินที่รองรับศิลาหลัก มักพบเห็นได้ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี


เพิงหินมักถูกจัดให้เป็นสุสาน แต่ไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักพอ สําหรับการกล่าวอ้างเช่นนี้ อี คยู-โบ นักปราชญ์แห่งโครยอในศตวรรษที่ 12 เขียนถึงเพิงหินเหล่านี้ว่า มีคนกล่าวว่าเทพเจ้าได้ตั้งเพิงหินไว้ ณ ที่แห่งนั้นตั้งแต่ครั้งโบราณ มันช่างเป็นกลวิธีที่อัศจรรย์ยิ่ง(ที่มนุษย์จะสามารถจัดเรียงหินขนาดใหญ่ยักษ์แบบนั้นได้)


ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ฮอเรซ แกรนท์ อันเดอร์วูด (Horace Grant Underwood) มิชชันนารีชาวอเมริกันอ้างว่าเพิงหินไม่ใช่สุสานแต่จัดวางไว้เพื่อใช้ทําพิธีเซ่นไหว้เหล่าทวยเทพของโลก ซน จิน-แท นักคติชนวิทยาชาวเกาหลียกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านเรื่องหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าเพิงหินคือบ้านของยายที่เป็นยักษ์ (มาโก ฮัลมอนี ตามตํานานพื้นบ้าน)

 

นอกจากในแคว้นแมนจูเรียแล้ว ประเทศจีนและญี่ปุ่นแทบจะไม่มีเพิงหินให้พบเห็นเลย แต่กลับพบมากมายหลายหมื่นชิ้นทั่วคาบสมุทรเกาหลี อยู่ร่วมกับชาวเกาหลีมาหลายพันปีแล้ว ผ่านฝนตกหนักและลมกระโชกแรง


เมื่อทราบถึงจุดนี้ นักวิชาการทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความสำคัญของเพิงหินเกาหลีในด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของมนุษย์ เพิงหินในคังฮวา (อินชอน) ฮวาซุน (จอลลานัมโด) และโคชัง (จอลลาบุกโด) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย UNESCO ในปี 2000 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ศึกษาสาเหตุของการกระจุกตัวของเพิงหินบนคาบสมุทรเกาหลี และความสัมพันธ์กับเพิงหินในยุโรปและอินเดีย